กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3692
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเปรียบเทียบในประเด็นการสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวตามมาตรฐานสากล: กรณีศึกษา พัทยา สิงคโปร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparative Communication in the Building Safety for Tourists According to International Standard: Case study of Pattaya Singapore
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรงยศ บัวเผื่อน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การสื่อสาร
นักท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารเปรียบเทียบในประเด็นการสร้ างความปลอดภัยให้ นักท่องเที่ยวตามมาตรฐานสากล: กรณีศึกษา พัทยา สิงคโปร์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Document Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ทั ้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และที่อาศัยอยู่ใน ประเทศสิงคโปร์ การวิจัยเอกสาร มุ่งศึกษาการน าเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ระดับชาติ หนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น เว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประทุษร้ายนักท่องเที่ยว จากนั้นผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ (ผู้บริหารเมืองพัทยา) ผู้แทนจากหน่วยงานการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา สื่อมวลชนท้องถิ่น นักธุรกิจในพัทยา อาสาสมัครตำรวจ ท่องเที่ยวเมืองพัทยา นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวพัทยาและสิงคโปร์ ที่มี ต่อประเด็นสภาพปัญหาที่ทำให้นักท่องเที่ยวในพัทยาไม่ปลอดภัย และความคิดเห็นที่มีต่อการสร้าง ความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวในพัทยา จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่อาศัยอยู่ใน ประเทศสิงคโปร์ โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่นักวิชาการที่สอนด้านสื่อสารมวลชนใน ประเทศสิงคโปร์ (มหาวิทยาลัยนานยาง เทคโนโลยี สิงคโปร์) นักวิชาการด้านภาษาไทยที่สอนใน ประเทศสิงคโปร์ (มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์) คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ พลเมืองสิงคโปร์ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม ในประเด็นการสร้างความ ปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศของประเทศสิงคโปร์ ผลการศึกษาจากเอกสารแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การนำเสนอข่าว การประทุษร้ายนักท่องเที่ยวในพัทยา ประเด็นที่สอง การนำเสนอข่าวการจัดประชุม อบรมสร้าง ความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว ประเด็นที่สาม การนำเสนอข่าวการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตรวจ รักษาความสงบเรียบร้อยในพัทยา ส่วนประเด็นความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักในประเทศไทยที่มี ต่อสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวในพัทยาไม่ปลอดภัย พบว่า เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานของเมืองพัทยา ที่ไม่ได้มาตรฐาน เกิดจากความประมาทของผู้ประกอบการและประชาชนในพัทยา เกิดจากการแบ่ง เขตน้ำที่ไม่ชัดเจน เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดประสิทธิภาพ เกิดจากหน่วยงานรัฐสับสนใน บทบาทของตนเอง และเกิดจากสุขอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักที่มี ต่อการสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวในพัทยา เห็นว่ารัฐควรปรับปรุงการสร้างความปลอดภัย ด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมืองพัทยา การสื่อสารให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การแบ่งเขตน้ำให้ชัดเจน การให้หน่วยงานรัฐเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย และการสร้าง สุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน ผลการศึกษาในประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อการสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวใน ประเทศสิงคโปร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การสร้างความปลอดภัยด้านโครงสร้าง พื้นฐานของเมือง ประเด็นที่สอง การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ประเด็นที่สาม การพัฒนาคน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3692
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_166.pdf11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น