กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3692
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทรงยศ บัวเผื่อน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-10-06T07:16:08Z
dc.date.available2019-10-06T07:16:08Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3692
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “การสื่อสารเปรียบเทียบในประเด็นการสร้ างความปลอดภัยให้ นักท่องเที่ยวตามมาตรฐานสากล: กรณีศึกษา พัทยา สิงคโปร์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Document Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ทั ้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และที่อาศัยอยู่ใน ประเทศสิงคโปร์ การวิจัยเอกสาร มุ่งศึกษาการน าเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ระดับชาติ หนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น เว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประทุษร้ายนักท่องเที่ยว จากนั้นผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ (ผู้บริหารเมืองพัทยา) ผู้แทนจากหน่วยงานการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา สื่อมวลชนท้องถิ่น นักธุรกิจในพัทยา อาสาสมัครตำรวจ ท่องเที่ยวเมืองพัทยา นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวพัทยาและสิงคโปร์ ที่มี ต่อประเด็นสภาพปัญหาที่ทำให้นักท่องเที่ยวในพัทยาไม่ปลอดภัย และความคิดเห็นที่มีต่อการสร้าง ความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวในพัทยา จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่อาศัยอยู่ใน ประเทศสิงคโปร์ โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่นักวิชาการที่สอนด้านสื่อสารมวลชนใน ประเทศสิงคโปร์ (มหาวิทยาลัยนานยาง เทคโนโลยี สิงคโปร์) นักวิชาการด้านภาษาไทยที่สอนใน ประเทศสิงคโปร์ (มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์) คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ พลเมืองสิงคโปร์ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม ในประเด็นการสร้างความ ปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศของประเทศสิงคโปร์ ผลการศึกษาจากเอกสารแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การนำเสนอข่าว การประทุษร้ายนักท่องเที่ยวในพัทยา ประเด็นที่สอง การนำเสนอข่าวการจัดประชุม อบรมสร้าง ความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว ประเด็นที่สาม การนำเสนอข่าวการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตรวจ รักษาความสงบเรียบร้อยในพัทยา ส่วนประเด็นความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักในประเทศไทยที่มี ต่อสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวในพัทยาไม่ปลอดภัย พบว่า เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานของเมืองพัทยา ที่ไม่ได้มาตรฐาน เกิดจากความประมาทของผู้ประกอบการและประชาชนในพัทยา เกิดจากการแบ่ง เขตน้ำที่ไม่ชัดเจน เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดประสิทธิภาพ เกิดจากหน่วยงานรัฐสับสนใน บทบาทของตนเอง และเกิดจากสุขอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักที่มี ต่อการสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวในพัทยา เห็นว่ารัฐควรปรับปรุงการสร้างความปลอดภัย ด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมืองพัทยา การสื่อสารให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การแบ่งเขตน้ำให้ชัดเจน การให้หน่วยงานรัฐเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย และการสร้าง สุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน ผลการศึกษาในประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อการสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวใน ประเทศสิงคโปร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การสร้างความปลอดภัยด้านโครงสร้าง พื้นฐานของเมือง ประเด็นที่สอง การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ประเด็นที่สาม การพัฒนาคนth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการสื่อสารth_TH
dc.subjectนักท่องเที่ยวth_TH
dc.titleการสื่อสารเปรียบเทียบในประเด็นการสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวตามมาตรฐานสากล: กรณีศึกษา พัทยา สิงคโปร์th_TH
dc.title.alternativeComparative Communication in the Building Safety for Tourists According to International Standard: Case study of Pattaya Singaporeen
dc.typeResearch
dc.author.emailsongyot_b@yahoo.comth_TH
dc.year2561
dc.description.abstractalternativeThe research titled “The Comparative Communication in Tourist Safety and Security under the International Standard: A Case Study of Pattaya and Singapore” was qualitative research employing documentary research methodology, in-depth interviews with key informants in both the Kingdom of Thailand and the Republic of Singapore. The documentary method focused on news presentation from national newspapers, local newspapers, and websites reporting news about crimes against tourists. The key informants consisted of administrators from Chonburi, mass media, businesspersons in Pattaya, administrators from Tourism Authority of Thailand--Pattya Office, police officers in Pattya, foreign police volunteers, foreign tourists, and Pattaya’s residents. The samples were asked about problems of tourist safety and security in Pattaya, and tourist safety and security assurance in Pattaya. Then the samples residing in Singapore would be asked about the construction of foreign tourist safety and security in Singapore. Documentary research revealed that news were presented in 3 categories including news about foreign tourist crimes in Pattaya, news about conferences, meeting and training on tourist safety and security, and news about official patrols in Pattaya. Thai informants stated that tourist unsafety in Pattaya was caused by under standard infrastructure, residents and entrepreneurs’ negligence, unclear territorial water, inefficient law enforcement, state authorities’ confusing roles and duties, and under standard hygiene. In addition, the informants suggested that the construction of tourist safety and security could be conducted by the improvement of the infrastructures in Pattaya, communication about tourist crimes and dangers, clear territorial water, better and stricter law enforcement, and standardized hygiene The construction of tourist safety and security in Singapore was divided in 3 categories including safe infrastructure of the city, strict law enforcement, and human development.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_166.pdf11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น