กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3677
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของแคสำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chemical investigation and biological activities of Sesbania grandiflora for the treatments of Alzheimer's disease
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนันต์ อธิพรชัย
วรางคณา จุ้งลก
สุวรรณา เสมศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของแค (Sesbania grandiflora) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ ถั่ว (Leguminosae) สำหรับช่วยในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ เมื่อนำส่วนที่รับประทานได้และนิยมรับประทานคือ ส่วนดอกและยอดอ่อน มาทำการสกัดด้วยวิธีการแช่หมักด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ตามลำดับความมีขั้วคือเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล พบว่ายอดอ่อนแค (Shoot) มีร้อยละผลผลิตรวมสูงที่สุดเท่ากับ 85.31% รองลงมา คือกลีบดอก (82.14%), ฐานรองดอก (76.12%) และเกสร (72.32%) ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดที่ได้พบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุดนั้นเป็นสารสกัดหยาบที่มาจากส่วนของดอก สารประกอบฟีนอลิกที่พบในส่วนสกัดหยาบของดอกและยอดอ่อนแคนั้นเป็นสารประกอบฟีนอลิกที่มีขั้วปานกลาง ถึงสูง นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่าง ๆ คือฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสของส่วนสกัดที่ได้ พบว่า ส่วนสกัดหยาบของแคสามารถช่วยในการบรรเทา พยาธิวิทยาของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ได้ โดยสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ยับยั้งภาวะการอักเสบ และยับยั้งเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายสารสื่อประสาทนั่นคือเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งส่วนสกัด หยาบของแคทุกส่วนสกัดนั้นไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์อีกด้วย ดังนั้นการบริโภคแคอาจจะช่วยบรรเทาและ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญและพบมากในผู้สูงอายุได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3677
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_170.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น