กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3657
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความเป็นพิษต่อเซลล์ องค์ประกอบทางเคมี และลายพิมพ์ ดีเอ็นเอของพังกาดอกช่อ (Bruguiera hainesii) และหลุมพอทะเล (Intsia bijuga) ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Investigation of anti-free radical and cytotoxicity activity, chemical constituent and DNA fingerprint of Bruguiera hainesii, and Intsia bijuga from Kung Krabaen bay royal development study center |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญดิศย์ วงศ์ศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | พังกาดอกช่อ หลุมพอทะเล ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ พันธุศาสตร์พืช สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาสารสกัดจากพืชหายากในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้แก่ หลุมพอทะเล (Intsia bijuga) และพังกาดอกช่อ (Bruguiera hainesii) โดยเลือกศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH, ABTS, FRAP และ Lipid peroxidation (TBARS) หา องค์ประกอบประกอบทางพฤกษเคมี รวมทั้งศึกษาดูความหลากหลาย ทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค ISSR จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า สารสกัดใบจากพืชทั้ง 2 มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลได้ดี โดย I. bijuga มีฤทธิ์ ยับยั้งอนุมูลดีกว่า B. hainesii อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ ต่อมาทำทดสอบหาสารพฤกษเคมีเบื้องต้นพบว่า พืชทั้ง 2 มีชนิดมีสารพฤกษเคมี คือ tannins, flavonoids, phenolics, cardiacglycoside, anthaquinone, alkaloid และ coumarins สำหรับการสกัดดีเอ็นเอของ I. bijuga และ B. hainesii มาทำการเพิ่มจำนวนด้วยเทคนิค PCR แล้วพบว่า ดีเอ็นเอของพืชทั้งสองมีขนาดประมาณ 500 bp. จากนั้น PCR product ไปตรวจหาลำดับเบสดีเอ็นเอและนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลในธนาคาร พันธุกรรมโลก (Genbank) เพื่อยืนยันความเหมือนหรือความแตกต่างของลำดับเบสดีเอ็นเอ พบว่า สารสกัดดี เอ็นเอของ I. bijuga และ B. hainesii นี้มีเปอร์เซ็นต์ความใกล้เคียงเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลจากการใช้ โปรแกรม BLAST อยู่ที่ 99% และ 100% ตามลำดับ จึงทำการฝากข้อมูลไว้เผื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมของสมุนไพรไทย และจากการทดสอบดูความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วย ISSR พบว่า ไพรเมอร์ที่ใช้ในการทดลองสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอระหว่างตำแหน่งไมโครแซททาไลต์ได้แตกต่างกัน จึงสามารถใช้เป็น เครื่องหมายในการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชทั้งสองชนิดนี้ได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3657 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_147.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น