กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3655
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์
dc.date.accessioned2019-07-28T10:37:34Z
dc.date.available2019-07-28T10:37:34Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3655
dc.description.abstractในปัจจุบัน ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ SMEs จะขึ้นอยู่กับการใช้หลักการบริหารธุรกิจ และโลจิสติกส์โดยผสมผสานกับการสร้างเอกลักษณ์สินค้าชุมชนในแต่ละพื้นที่โดยจัดให้มีตลาดรองรับ และ ทำเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยให้แต่ละชุมชนมีผลิตภัณฑ์ดีเด่นอย่างน้อยหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยเป็น ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งถือได้ ว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดขึ้น และใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนากระบวนการ เรียนรู้ของชุมชน และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของ ตลาดสากล อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนฐานต่างมีความเข้มแข็งต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจโดยใช้เทคนิคด้านโลจิ สติกส์เข้ามาเป็นเครื่องมือทั้งกิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้าตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบขาเข้า ตลอดจนถึงกิจกรรมโลจิสติกส์ขาออกตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้อสินค้า SMEs ทั้ง จากภายในประเทศและจากต่างประเทศ ตรวจสอบและระบุถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ ในการจัดซื้อจัดหา การผลิตและการกระจายสินค้าและการจำหน่าย หาวิธีการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลให้กับผู้ประกอบการและ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ SMEs ของไทย และหาและกำหนด ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในอันที่จะสร้างหรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิซึ่งครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการ SMEs ชุมชน ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะ ตรวจสอบประเด็นดังกล่าวข้างต้น การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 1,039 ชุดและการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 54 ราย ข้อมูลจะถูกนำมาประมวลและวิเคราะห์โดยใช้ โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 15.0 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ยังขาด ความรู้เรื่องเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย เพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนรวมและเพื่อคุณภาพในการให้บริการ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่มีการผลิต และจัดเก็บเป็นจำนวนมากโดยมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยมีการผลิตและเก็บไว้ เป็นเวลานาน ส่งผลให้เพิ่มต้นทุนมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการ SMEs ยังประสบปัญหาเรื่องการ ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาการจัดหาวัตถุดิบที่มีจำกัดตาม ธรรมชาติ รวมถึงปัญหาในการจัดจำหน่ายและแหล่งจำหน่ายหลัก หน่วยงานหลักในด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ SMEs ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนควรมีบทบาทในการจัดการผลิตภัณฑ์ SMEs ให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพ พลายเชนเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างยั่งยืนth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการเพิ่มขีดความสามารถth_TH
dc.subjectวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมภาคตะวันออกth_TH
dc.subjectโลจิสติกส์th_TH
dc.subjectซัพพลายเซนth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleโครงการแนวทางการพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของผลิตภัณฑ์ SMEs โดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนth_TH
dc.title.alternativeDevelopment potential for the operation for Enhancing Competitive Advantage to SMEs Firms and Adoption of Logistics and Supply Chain Managementen
dc.typeResearchen
dc.author.emailtaweesak@buu.ac.th
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeToday, success of SME business operations depends on how to apply business and logistics principles to fit with unique of community products, including providing distribution and marketing channels. It would seek dominant products in each area based community consistent with local wisdom and cultures. It is a tool to stimulate the learning process of the community. Develop and improve the quality of the community's products to meet the needs of the international market and lead to sustainable and stronger local economy. The purpose of the study is to study the patterns and approaches of logistics management as power tool to conduct business success. The process covers to inbound logistics (i.e. procurement, inbound warehouse) and outbound logistics (i.e. order processing, distribution channel). It reviews and identifies factors that affect the activities through supply chain, including finding ways to increase efficiency and effectiveness for Thai SMEs entrepreneurs and formulate strategies to enhance the competitive advantage. This study collects data from secondary and primary sources. The sampling covers SMEs, community, people and private and public agencies. The aim is to investigate the mentioned issues. It is surveyed by using 1,039 questionnaires and 54 in-depth interviews. Data are analyzed and processed by using SPSS version 15.0. The study reveals that SMEs in Chonburi, Rayong, Chanthaburi and Trat provinces lack the knowledge of logistics and supply chain management. In particular, from production to distribution, it would facilitate to reduce total cost and quality of services. Furthermore, most of them manage ineffective storage facilities. The complicate and complex production and storage create higher costs. In addition, SMEs are experiencing shortages of raw materials in production, partly due to the limited supply of raw materials and problems in distribution and distribution. The main agencies both public and private sectors, should play a significant role to incentive and support SMEs. It would educate them to understand logistics management and supply chain management techniques, so that they can apply to be effective and effectiveen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_145.pdf5.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น