กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3633
ชื่อเรื่อง: | ศักยภาพการรองรับมลพิษของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาผลกระทบของน้ำทิ้งจากกิจกรรม การใช้ประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางน้ำแม่น้ำจันทบุรี และปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Carrying Capacity Assessment of River and Coastal Area: A Case Study Effects of Wastewater from Land Use on the Aquatic Ecosystems of Chanthaburi River and Laem Singh Estuarine Chanthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา วิชญา กันบัว จารุมาศ เมฆสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะประมง |
คำสำคัญ: | ระบบนิเวศทางน้ำ น้ำทิ้ง มลพิษทางน้ำ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาศักยภาพการรองรับมลพิษของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาผลกระทบของน้ำทิ้งจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางน้ำแม่น้ำจันทบุรี และปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลกระทบที่มาจาก น้ำทิ้งของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่อคุณภาพน้ำในภาพและระบบนิเวศของแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์ โดยทำการศึกษา 3 ช่วงเวลาเพื่อเป็นตัวแทนของฤดูกาลได้แก่ ฤดูแล้ง (เดือนมกราคม) ต้นฤดูฝน (เดือนเมษายน) และฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) ทั้งนี้แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 17 สถานี ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำจันทบุรี 6 สถานี และปากน้ำแหลมสิงห์ 11 สถานี นอกจากนี้ยังทำการศึกษาแหล่งน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 6 ประเภท โดยปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบไปด้วยคุณภาพน้ำทั่วไป ปริมาณอนินทรีย์ละลายน้ำ คลอโรฟิลล์ เอ แพลงก์ตอนพืช และคุณภาพของดินตะกอน ผลการศึกษาพบว่า ในแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์มีความแตกต่างด้านความเค็มของน้ำอย่างชัดเจน ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำบริเวณพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำจะมีค่าค่อนข้างสูงตลอดเวลาที่ทำการศึกษา (6.627.79 มิลลิกรัมต่อลิตร) ส่วนพื้นที่ปากแม่น้ำจะมีค่าต่ำกว่าเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ (4 มิลลิกรัมต่อลิตร) สถานีบริเวณลำคลองรอบเมืองจันทบุรี มีปริมาณของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำสูงที่สุดโดยเฉพาะแอมโมเนีย และไนเตรท โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมที่มีอยู่หนาแน่นบริเวณด้านบนส่งผลให้มีการสะสมของไนโตรเจนในพื้นที่ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามปริมาณสารอนินทรีย์ดังกล่าวยังไม่สามารถส่งผลต่อสถานภาพของแม่น้ำได้ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากคลอโรฟิลล์ เอ พบว่าแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์ยังคงอยู่ในสภาวะ ความสมบูรณ์ในระดับปานกลาง (Mesotrophic) โดยคลอโรฟิลล์ เอ มีค่าต่ำกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลิตร ทั้งนี้เมื่อพิจารณาศักยภาพในการรองรับมลพิษในภาพรวมโดยใช้เกณฑ์ของ Redfield ratio ในการพิจารณาพบว่า ในช่วงฤดูแล้งและต้นฤดูฝน แม่น้ำจันบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์จะมีไนโตรเจนเป็นปัจจัยจำกัด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไนโตรเจนที่เข้ามาระบบแม่น้ำช่วงเวลาดังกล่าวมีค่อนข้างน้อย ต่างจากในช่วงฤดูฝนซึ่งจะมีฟอสฟอรัสเป็นปัจจัยจำกัด นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณของซิลิเกตในแม่น้ำและปากแม่น้ำมีค่าค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ซึ่งสอดคล้องกับ การที่พบแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มของไดอะตอมเป็นชนิดเด่นในทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ดังนั้นภาพรวมของการศึกษาในครั้งนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่าแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์ยังคงสามารถรองรับมลพิษด้านสารอนินทรีย์ละลายน้ำได้อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์จากปัจจุบัน โดยเฉพาะสารอนินทรีย์ในกลุ่มของฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตามควรพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลรวมถึงปริมาณน้ำฝนซึ่งมีความผันแปรในรอบปีค่อนมากเพราะอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสารอาหารนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3633 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_123.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น