กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3633
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.authorวิชญา กันบัว
dc.contributor.authorจารุมาศ เมฆสัมพันธ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะประมง
dc.date.accessioned2019-07-19T06:11:05Z
dc.date.available2019-07-19T06:11:05Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3633
dc.description.abstractการศึกษาศักยภาพการรองรับมลพิษของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาผลกระทบของน้ำทิ้งจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางน้ำแม่น้ำจันทบุรี และปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลกระทบที่มาจาก น้ำทิ้งของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่อคุณภาพน้ำในภาพและระบบนิเวศของแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์ โดยทำการศึกษา 3 ช่วงเวลาเพื่อเป็นตัวแทนของฤดูกาลได้แก่ ฤดูแล้ง (เดือนมกราคม) ต้นฤดูฝน (เดือนเมษายน) และฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) ทั้งนี้แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 17 สถานี ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำจันทบุรี 6 สถานี และปากน้ำแหลมสิงห์ 11 สถานี นอกจากนี้ยังทำการศึกษาแหล่งน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 6 ประเภท โดยปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบไปด้วยคุณภาพน้ำทั่วไป ปริมาณอนินทรีย์ละลายน้ำ คลอโรฟิลล์ เอ แพลงก์ตอนพืช และคุณภาพของดินตะกอน ผลการศึกษาพบว่า ในแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์มีความแตกต่างด้านความเค็มของน้ำอย่างชัดเจน ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำบริเวณพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำจะมีค่าค่อนข้างสูงตลอดเวลาที่ทำการศึกษา (6.627.79 มิลลิกรัมต่อลิตร) ส่วนพื้นที่ปากแม่น้ำจะมีค่าต่ำกว่าเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ (4 มิลลิกรัมต่อลิตร) สถานีบริเวณลำคลองรอบเมืองจันทบุรี มีปริมาณของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำสูงที่สุดโดยเฉพาะแอมโมเนีย และไนเตรท โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมที่มีอยู่หนาแน่นบริเวณด้านบนส่งผลให้มีการสะสมของไนโตรเจนในพื้นที่ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามปริมาณสารอนินทรีย์ดังกล่าวยังไม่สามารถส่งผลต่อสถานภาพของแม่น้ำได้ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากคลอโรฟิลล์ เอ พบว่าแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์ยังคงอยู่ในสภาวะ ความสมบูรณ์ในระดับปานกลาง (Mesotrophic) โดยคลอโรฟิลล์ เอ มีค่าต่ำกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลิตร ทั้งนี้เมื่อพิจารณาศักยภาพในการรองรับมลพิษในภาพรวมโดยใช้เกณฑ์ของ Redfield ratio ในการพิจารณาพบว่า ในช่วงฤดูแล้งและต้นฤดูฝน แม่น้ำจันบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์จะมีไนโตรเจนเป็นปัจจัยจำกัด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไนโตรเจนที่เข้ามาระบบแม่น้ำช่วงเวลาดังกล่าวมีค่อนข้างน้อย ต่างจากในช่วงฤดูฝนซึ่งจะมีฟอสฟอรัสเป็นปัจจัยจำกัด นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณของซิลิเกตในแม่น้ำและปากแม่น้ำมีค่าค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ซึ่งสอดคล้องกับ การที่พบแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มของไดอะตอมเป็นชนิดเด่นในทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ดังนั้นภาพรวมของการศึกษาในครั้งนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่าแม่น้ำจันทบุรีและปากน้ำแหลมสิงห์ยังคงสามารถรองรับมลพิษด้านสารอนินทรีย์ละลายน้ำได้อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์จากปัจจุบัน โดยเฉพาะสารอนินทรีย์ในกลุ่มของฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตามควรพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลรวมถึงปริมาณน้ำฝนซึ่งมีความผันแปรในรอบปีค่อนมากเพราะอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสารอาหารนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำได้th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectระบบนิเวศทางน้ำ
dc.subjectน้ำทิ้ง
dc.subjectมลพิษทางน้ำ
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.titleศักยภาพการรองรับมลพิษของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาผลกระทบของน้ำทิ้งจากกิจกรรม การใช้ประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางน้ำแม่น้ำจันทบุรี และปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe Carrying Capacity Assessment of River and Coastal Area: A Case Study Effects of Wastewater from Land Use on the Aquatic Ecosystems of Chanthaburi River and Laem Singh Estuarine Chanthaburi Province
dc.typeResearch
dc.author.emailpatrawut@buu.ac.th
dc.author.emailvichaya@buu.ac.th
dc.year2562
dc.description.abstractalternativeCarrying Capacity Assessment of River and Coastal Area: A case study effects of wastewater from land use on the aquatic ecosystems of Chanthaburi River and Laem Singh estuarine Chan thaburi province. Aims to study of utilization effect to water quality and coastal ecosyetem. We were determined to explore three periods, those represent the seasons: dry (January), rainy (April) and rainy season (July). The study area is totally 17 stations including 6 Stations of Chanthaburi River and 11 stations of Pak Nam LaemSingha. In addition, 6 types of wastewater from various activities were investigated. The water parameters were collected as DIN, Chl a, phytoplankton and sediment. The results indicated that the salinity was clearly different in the both study sites. The DO was high in the upper part of area (6.62-7.79 mg / l).While the estuary area was slightly lower but maintained in the water quality standard (4 mg / l). The rainy season were characterized by a higher NH4, NO2 in Chanburi River caused by agriculture activities. Meanwhile the Chl a was remain as Mesotrophic level (less than 10 mg/L). However, when considering the carrying capacity by using the Redfield ratio criteria, it was found that during the dry and early rainy season, N as a limiting factor. Which shows that the N entering the river system during this period is relatively low. During the rainy season, where the P is a limiting factor. The amount of silicate in rivers and estuaries is high throughout the year. Which related to found of diatom as the dominant group. According to the field investigations and water environmental carrying capacity of Chanburi River and Pak Nam LaemSingha. It can be support of DIN, DIP and pollutants about 20% of present situation. However, the fluctuation of the seasonal and runoff are importance factor affects to change the proportion of nutrients then leading to degradation of water resourcesen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_123.pdf4.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น