กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3630
ชื่อเรื่อง: | การระบาดของเชื้อ Nosema ceranae และความรุนแรงของโรค ในผึ้งหลวง (Apis dorsata Fabricius, 1793) ในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Distribution and virulence of Nosema ceranae in Thai giant honeybee, Apis dorsata Fabricius, 1793 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กันทิมา สุวรรรณพงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ไคโตซาน ผึ้งหลวง สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคโนซีมา (Nosemosis) ในประเทศไทยเกิดจากเชื้อ Nosema ceranae ซึ่งจัดเป็นราใน กลุ่ม Microspordian ที่ก่อให้ประชากรของผึ้งลดลง เนื่องจากเชื้อเข้าไปทําลายเซลล์เยื่อบุทางเดิน อาหารส่วนกลางของผึ้ง พบการระบาดในผึ้งทุกชนิดในประเทศไทย รวมทั้งผึ้งหลวง (Apis dorsata) ซึ่งเป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย ให้ผลผลิต โดยเฉพาะน้ําผึ้งปริมาณมาก เนื่องจากมีรังขนาดใหญ่ มีจํานวนประชากรมาก และมีบทบาทสําคัญมากต่อระบบนิเวศน์ เนื่องจากทําหน้าที่ผสมเกสรให้พืช ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชอาหารหลัก (crop plants) ของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ สํารวจการติดเชื้อ Nosema ในผึ้งหลวงจากพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย และจําแนกชนิด (species identification) ของเชื้อ Nosema ใช้ทั้งลักษณะทางกายภาพของ Nosema สปอร์ และวิเคราะห์ผล ด้วย qPCR และศึกษาผลของเชื้อ N. ceranae ในผึ้งหลวงวรรณะผึ้งงานภายหลังการติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 30 วัน โดยการวัดอัตรา การติดเชื้อระหว่างเซลล์ที่ติดเชื้อต่อเซลล์ที่ไม่ติดเชื้อจํานวนรอย เซลล์, จํานวนสปอร์ต่อผึ้งแต่ละตัว ระดับน้ำตาลทรีฮาโลสในฮีโมลิมป์ และปริมาณโปรตีนของต่อม ไฮโปฟาลิงค์ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการใช้สารกัดจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดพรอพอลิสจาก ชันโรง และไคโตซาน ต่ออัตราการติดเชื้อ จํานวนสปอร์ในการติดเชื้อ การเพิ่มปริมาณโปรตีนของต่อมไฮโปฟาริงค์ และระดับของน้ำตาลทรีฮาโลสในฮีโมลิมป์ของผึ้งหลวงหลังได้รับเชื้อระดับ 1,000,000 สปอร์ต่อตัว พบการติดเชื้อ Nosema ผึ้งหลวงทุกพื้นที่ทําการสํารวจ และผลการวิเคราะห์ด้วย qPCR โดยผึ้งที่ติดเชื้อเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อ N. ceranae มีเพียงตัวอย่างที่เก็บได้ในเขต จังหวัดลําพูนและเชียงใหม่ที่พบทั้ง N. ceranae และ N. apis นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อที่ระดับความเข้มข้นสูงส่งผลให้ประสิทธิภาพการติดเชื้อและอัตรา การติดเชื้อสูงขึ้น และที่น่าสนใจก็คือ สารสกัด พรอพอลิสความเข้มข้นร้อยละ 50 และไคโตซานความเข้มข้น 0.1 ppm ทําให้ประสิทธิภาพการติดเชื้อและอัตรา การติดเชื้อลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ระดับน้ำตาลทรีฮาโลสในน้ำเลือด ปริมาณโปรตีนในต่อมไฮโปฟาลิงค์และการรอดชีวิตของผึ้งหลวงเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดทั้งสองชนิด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดพรอพอลิสจากชันโรง และไคโตซาน ควรพิจารณาเพื่อเป็นทางเลือกของการใช้สารจากธรรมชาติในการนํามาเป็นส่วนผสมในสูตรอาหาร เพื่อทําให้ผึ้งในรังมีความสามารถต้านโรคโนซีมา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3630 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_120.pdf | 5.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น