กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3625
ชื่อเรื่อง: | ทรอสโทไคตริดส์จากระบบนิเวศชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี (ป่าชายเลน): ความหลากหลายทางชีวภาพและการคัดแยกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Thraustochytrids Along Coastal Ecosystem of Chathaburi Province (Mangrove): Biodiversity, Screening and Isolation for Database and Utilities |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมถวิล จริตควร สุดารัตน์ สวนจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ระบบนิเวศชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรอสโทโคตริดส์ ป่าชายเลน กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้ได้คัดแยกจุลินทรีย์ทะเลกลุ่มทรอสโทไคตริดส์จากใบไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่น บริเวณป่าชายเลน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีที่ 1 แหลมแม่นกแก้ว จังหวัดจันทบุรี สถานีที่ 2 ศูนย์ศึกษา การพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี และสถานีที่ 3 สถานี พัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จังหวัดจันทบุรี ได้ทั้งสิ้น 14 ชนิด จำนวน 1,525 ไอโซเลท ได้แก่ Aurantiochytrium limacinum, Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Parietichytrium sarkarianum , Shizochytrium sp.2, Thraustochytriidae sp.8, Thraustochytriidae sp.9, Thraustochytriidae sp.10, Thraustochytriidae sp.11, Thraustochytriidae sp.12, Thraustochytriidae sp.13, Thraustochytriidae sp.14, Thraustochytriidae sp.15 ในฤดูฝนมีความถี่ของการพบ (Frequency of Occurrence) อยู่ในช่วง 5-75 เปอร์เซ็นต์ โดย Thraustochytriidae sp.14 มี ความถี่ของการพบสูงสุด (75 เปอร์เซ็นต์) ส่วนทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยกในฤดูแล้งมีความถี่ของการพบอยู่ในช่วง 5-85 เปอร์เซ็นต์ โดย Aurantiochytrium sp.1 กับ Thraustochytriidae sp.14 มี ความถี่ของการพบสูงที่สุด (85 เปอร์เซ็นต์) สำหรับกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid) พบว่า Aurantiochytrium limacinum มีปริมาณเฉลี่ยสูงสุดในฤดูฝนเท่ากับ 145.91±18.97 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (32.91±2.57 % of total FA) สำหรับปริมาณเออาร์เอ (Arachidonic acid) และอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid) พบสูงสุดใน Schizochytrium sp.2 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35±0.20 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (5.21±0.43 และ 5.74±0.29 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (12.75±0.40 % of total FA) ตามลำดับ ส่วนปริมาณดีพีเอ (Docosapentaenoic acid) พบเฉลี่ยสูงสุดใน Thraustochytriidae sp.9 เท่ากับ 34.38±2.09 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (7.18±0.29 % of total FA) ส่วนชีวมวลพบสูงสุดใน Thraustochytriidae sp.8 (17.81-22.43 กรัมต่อลิตร) จะเห็นว่าทรอสโทไคตริดส์มีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยเฉพาะดีเอชเอที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือเชิงพาณิชย์ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3625 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_115.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น