กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3625
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สมถวิล จริตควร | |
dc.contributor.author | สุดารัตน์ สวนจิตร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-07-18T02:43:05Z | |
dc.date.available | 2019-07-18T02:43:05Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3625 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ได้คัดแยกจุลินทรีย์ทะเลกลุ่มทรอสโทไคตริดส์จากใบไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่น บริเวณป่าชายเลน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีที่ 1 แหลมแม่นกแก้ว จังหวัดจันทบุรี สถานีที่ 2 ศูนย์ศึกษา การพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี และสถานีที่ 3 สถานี พัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จังหวัดจันทบุรี ได้ทั้งสิ้น 14 ชนิด จำนวน 1,525 ไอโซเลท ได้แก่ Aurantiochytrium limacinum, Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Parietichytrium sarkarianum , Shizochytrium sp.2, Thraustochytriidae sp.8, Thraustochytriidae sp.9, Thraustochytriidae sp.10, Thraustochytriidae sp.11, Thraustochytriidae sp.12, Thraustochytriidae sp.13, Thraustochytriidae sp.14, Thraustochytriidae sp.15 ในฤดูฝนมีความถี่ของการพบ (Frequency of Occurrence) อยู่ในช่วง 5-75 เปอร์เซ็นต์ โดย Thraustochytriidae sp.14 มี ความถี่ของการพบสูงสุด (75 เปอร์เซ็นต์) ส่วนทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยกในฤดูแล้งมีความถี่ของการพบอยู่ในช่วง 5-85 เปอร์เซ็นต์ โดย Aurantiochytrium sp.1 กับ Thraustochytriidae sp.14 มี ความถี่ของการพบสูงที่สุด (85 เปอร์เซ็นต์) สำหรับกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid) พบว่า Aurantiochytrium limacinum มีปริมาณเฉลี่ยสูงสุดในฤดูฝนเท่ากับ 145.91±18.97 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (32.91±2.57 % of total FA) สำหรับปริมาณเออาร์เอ (Arachidonic acid) และอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid) พบสูงสุดใน Schizochytrium sp.2 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35±0.20 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (5.21±0.43 และ 5.74±0.29 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (12.75±0.40 % of total FA) ตามลำดับ ส่วนปริมาณดีพีเอ (Docosapentaenoic acid) พบเฉลี่ยสูงสุดใน Thraustochytriidae sp.9 เท่ากับ 34.38±2.09 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (7.18±0.29 % of total FA) ส่วนชีวมวลพบสูงสุดใน Thraustochytriidae sp.8 (17.81-22.43 กรัมต่อลิตร) จะเห็นว่าทรอสโทไคตริดส์มีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยเฉพาะดีเอชเอที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือเชิงพาณิชย์ต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ระบบนิเวศชายฝั่ง | th_TH |
dc.subject | ความหลากหลายทางชีวภาพ | th_TH |
dc.subject | ทรอสโทโคตริดส์ | th_TH |
dc.subject | ป่าชายเลน | th_TH |
dc.subject | กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | ทรอสโทไคตริดส์จากระบบนิเวศชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี (ป่าชายเลน): ความหลากหลายทางชีวภาพและการคัดแยกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์ | th_TH |
dc.title.alternative | Thraustochytrids Along Coastal Ecosystem of Chathaburi Province (Mangrove): Biodiversity, Screening and Isolation for Database and Utilities | en |
dc.type | Research | |
dc.author.email | somtawin@buu.ac.th | |
dc.author.email | sudarat@buu.ac.th | |
dc.year | 2562 | |
dc.description.abstractalternative | Screening and isolation of thraustochytrids from fallen senescent mangrove leaves of 3 stations in Chanthaburi Province: Laem Mae Nok Kaew (S1), Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center (S2), and Mangrove Resources Development Station 2 Tha Son (S3). A total of 1,525 thraustochytrid isolates were obtained, classified into 14 species, namely, Aurantiochytrium limacinum , Aurantiochytrium sp.1, Auranti ochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Parietichytrium sarkarianum , Shizochytrium sp.2, Thraustochytriidae sp.8, Thraustochytriidae sp.9, Thraustochytriidae sp.10, Thraustochytriidae sp.11, Thraustochytriidae sp.12, Thraustochytriidae sp.13, Thraustochytriidae sp.14, Thraustochytriidae sp.15. Frequency of occurrence of thraustochytrids in the rainy season ranged from 5-75%, which Thraustochytriidae sp.14 had the highest as 75%. While thraustochytrids in the dry season had frequency of occurrence ranged from 5-85%, which Aurantiochytrium sp.1 and Thraustochytriidae sp.14 had the highest as 85%. For fatty acid composition in thraustochytrids, the average content of DHA (Docosahexaenoic acid) was found in Aurantiochytrium limacinum which represented as 145.91±18.97 mg/g dry weight (32.91±2.57 % of total fatty acid). Arachidonic acid (ArA) and eicosapentaenoic acid (EPA) were highest in Schizochytrium sp.2 as 2.35±0.20 mg/g dry weight (5.21±0.43 % of total fatty acids) and 5.74±0.29 mg/g dry weight (12.75±0.40 % of total fatty acids), respectively. High content of Docosapentaenoic acid (DPA) were revealed in Thraustochytriidae sp.9 as 34.38±2.09 mg/g dry weight (7.18±0.29 % of total fatty acid). The highest biomass of Thraustochytriidae sp.8 were revealed as 22.49 g/L, followed by Thraustochytriidae sp.11 as 9.39-20.71g/L, respectively. It is indicated that thraustochytrids have high potential for the source of polyunsaturated fatty acids, especially DHA, as an applicable for aquaculture or further commercial uses | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_115.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น