กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3615
ชื่อเรื่อง: | การแพร่กระจาย ค่าความชุกและ สัณฐานวิทยาของปรสิตที่ระบาดในกุ้งทะเล เศรษฐกิจ บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Distribution, Prevalence and Morphological Features of Parasitic in Commercial Marine shrimps from the Eastern Coast of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์ สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปรสิต กุ้งทะเล ค่าความชุก สัณฐานวิทยา สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาการแพร่กระจาย ค่าความชุก และ สัณฐานวิทยาของปรสิตที่ระบาดในกุ้งทะเลเศรษฐกิจบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย พบการระบาดของปรสิตในกุ้ง จำนวน 2 ชนิดคือ โปรโตซัวปรสิตสกุล Nematopsis และสกุล Cephalolobus โดยพบว่าการระบาดของโปรโตซัวปรสิตสกุล Nematopsis ในกุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วยมีค่ามากที่สุดในเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมโดยมีหลายจุดเก็บตัวอย่างที่มีค่าความชุก 100% เช่นที่หาดวอนนภา และอ่างศิลา อ่าวศรีราชา ช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี และ ท่าเทียบเรือบ้านเพ จังหวัดระยอง หลังจากเดือนสิงหาคม ค่าความชุกของ การระบาดจะลดลงและต่ำสุดในเดือน ธันวาคมถึงเดือนมกราคมโดยมีค่าต่ำสุด ณ จุดเก็บตัวอย่างอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยพบค่าความชุกของการระบาดในกุ้งแชบ๊วยมีค่าเท่ากับ 10% ในส่วนของโปรโตซัวปรสิตสกุล Cephalolobus พบว่ามีการระบาดไม่มากนักโดยพบการระบาดทั้งในกุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วยเฉพาะในเขตจังหวัดชลบุรี โดยพบการระบาดมากที่สุดในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม และค่าความชุกของการระบาดค่อย ๆ ลดลง และไม่พบการระบาดเลยในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม การศึกษาด้านสัณฐานวิทยาและจุลกายวิภาคโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และ การศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่า Nematopsis มีลักษณะเป็นทรงกระบอกขนาดความกว้าง 20-38 μm มี ขนาดความยาว 45-760 μm โดยจะมีส่วนหัวที่เรียกว่า protomerite มีลักษณะกลม-รี และมีส่วน epimerite ยื่นออกมาทางด้านหน้าของส่วนหัว ส่วนลำตัว deutomerite จะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก และมีนิวเคลียส 1 อันรูปร่างกลม นอกจากนี้อาจมีการเชื่อมต่อกันของ trophozoites ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเรียกระยะ นี้ว่า Association ส่วนบนเรียกว่า primite ส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนหัวคือ protomerite อาจมีหรือไม่มี epimerite ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของ Nematopsis ส่วนลาตัว deutomerite มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีนิวเคลียส 1 อัน ส่วนที่ 2 คือ ส่วน satellite มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มาเชื่อมต่อกันมีนิวเคลียส 1 อันอยู่ ค่อนไปทางด้านท้ายของลาตัว นอกจากนี้ยังพบ Nematopsis ระยะ gametocyst ซึ่งระยะนี้เกิดจากการหลอมรวมกันของระยะ syzygy ขดเป็นวงกลมแล้วมีการสร้างผนังหุ้มตัวเอง ระยะ gametocyst จะมีสีดำหรือสีน้ำตาล ภายในมี gymnospores บรรจุอยู่เป็นจำนวนมาก จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการระบาดของโปรโตซัวปรสิตในสกุล Cephalolobus ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Nematopsis มาก แต่ต่างกันบริเวณส่วนของ Epimerite ของ Cephalolobus จะมีการพัฒนาไปเป็น Holdfast สำหรับยึดเกาะผนังทางเดินอาหารของ host โดยพบว่ามีการระบาดทั้งในกุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วยแต่พบค่าการระบาดน้อยกว่า Nematopsis |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3615 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_105.pdf | 6.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น