กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3615
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์ | |
dc.contributor.author | สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-07-12T09:10:57Z | |
dc.date.available | 2019-07-12T09:10:57Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3615 | |
dc.description.abstract | การศึกษาการแพร่กระจาย ค่าความชุก และ สัณฐานวิทยาของปรสิตที่ระบาดในกุ้งทะเลเศรษฐกิจบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย พบการระบาดของปรสิตในกุ้ง จำนวน 2 ชนิดคือ โปรโตซัวปรสิตสกุล Nematopsis และสกุล Cephalolobus โดยพบว่าการระบาดของโปรโตซัวปรสิตสกุล Nematopsis ในกุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วยมีค่ามากที่สุดในเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมโดยมีหลายจุดเก็บตัวอย่างที่มีค่าความชุก 100% เช่นที่หาดวอนนภา และอ่างศิลา อ่าวศรีราชา ช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี และ ท่าเทียบเรือบ้านเพ จังหวัดระยอง หลังจากเดือนสิงหาคม ค่าความชุกของ การระบาดจะลดลงและต่ำสุดในเดือน ธันวาคมถึงเดือนมกราคมโดยมีค่าต่ำสุด ณ จุดเก็บตัวอย่างอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยพบค่าความชุกของการระบาดในกุ้งแชบ๊วยมีค่าเท่ากับ 10% ในส่วนของโปรโตซัวปรสิตสกุล Cephalolobus พบว่ามีการระบาดไม่มากนักโดยพบการระบาดทั้งในกุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วยเฉพาะในเขตจังหวัดชลบุรี โดยพบการระบาดมากที่สุดในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม และค่าความชุกของการระบาดค่อย ๆ ลดลง และไม่พบการระบาดเลยในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม การศึกษาด้านสัณฐานวิทยาและจุลกายวิภาคโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และ การศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่า Nematopsis มีลักษณะเป็นทรงกระบอกขนาดความกว้าง 20-38 μm มี ขนาดความยาว 45-760 μm โดยจะมีส่วนหัวที่เรียกว่า protomerite มีลักษณะกลม-รี และมีส่วน epimerite ยื่นออกมาทางด้านหน้าของส่วนหัว ส่วนลำตัว deutomerite จะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก และมีนิวเคลียส 1 อันรูปร่างกลม นอกจากนี้อาจมีการเชื่อมต่อกันของ trophozoites ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเรียกระยะ นี้ว่า Association ส่วนบนเรียกว่า primite ส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนหัวคือ protomerite อาจมีหรือไม่มี epimerite ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของ Nematopsis ส่วนลาตัว deutomerite มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีนิวเคลียส 1 อัน ส่วนที่ 2 คือ ส่วน satellite มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มาเชื่อมต่อกันมีนิวเคลียส 1 อันอยู่ ค่อนไปทางด้านท้ายของลาตัว นอกจากนี้ยังพบ Nematopsis ระยะ gametocyst ซึ่งระยะนี้เกิดจากการหลอมรวมกันของระยะ syzygy ขดเป็นวงกลมแล้วมีการสร้างผนังหุ้มตัวเอง ระยะ gametocyst จะมีสีดำหรือสีน้ำตาล ภายในมี gymnospores บรรจุอยู่เป็นจำนวนมาก จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการระบาดของโปรโตซัวปรสิตในสกุล Cephalolobus ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Nematopsis มาก แต่ต่างกันบริเวณส่วนของ Epimerite ของ Cephalolobus จะมีการพัฒนาไปเป็น Holdfast สำหรับยึดเกาะผนังทางเดินอาหารของ host โดยพบว่ามีการระบาดทั้งในกุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วยแต่พบค่าการระบาดน้อยกว่า Nematopsis | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ปรสิต | th_TH |
dc.subject | กุ้งทะเล | th_TH |
dc.subject | ค่าความชุก | th_TH |
dc.subject | สัณฐานวิทยา | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การแพร่กระจาย ค่าความชุกและ สัณฐานวิทยาของปรสิตที่ระบาดในกุ้งทะเล เศรษฐกิจ บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | The Distribution, Prevalence and Morphological Features of Parasitic in Commercial Marine shrimps from the Eastern Coast of Thailand | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | chanawat@buu.ac.th | |
dc.author.email | salineek@buu.ac.th | |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The study of the prevalence and morphology of parasites infected on economic prawns and shrimps in Thailand’s eastern seacoast revealed the prevalence of two types of protozoan infections: one caused by Nematopsis protozoans, and the other caused by Cephalolobus protozoans. The prevalence of the infection caused by Nematopsis protozoans was found to be the highest in black tiger prawns and in banana shrimps from June to August, with the prevalence of 100% in the sample collections from some Chonburi and Rayong locations such as Won Napa Beach, Ang Sila, Sri Racha Bay, Samaesarn channel (Chonburi) and Ban Pae Pier (Rayong). After August the prevalence was gradually decreased and reached the lowest in December and January in the sample collection from Sri Racha Bay, with the infection prevalence of 10% in banana shrimps. The infection caused by Cephalolobus protozoans on black tiger prawns and banana shrimps was found to be relatively low on both black tiger prawns and banana shrimps particularly in Chonburi. The prevalence was found to be the highest in June and July and then gradually decreasing, with no infection prevalence from February to May. The morphological and ultrastructural studies on Nematopsis by light microscope and electron microscope revealed the spherical shape of Nematopsis with 20-38 μm in width and 45-760 μm in length, consisting of the upper section, or primite, and the body section, or satellite. The two parts may be connected with at least 2 trophozoites and this stage is called association. The upper section, or primate, consists of the head called protomerite, and the body section called deutomerite. The head section is round and oval shaped, with or without epimerite protruding from the side of the head, depending on the kind of Nematopsis. The body section is spherical with a round nucleus. The lower section or satellite is spherical with one nucleus close to the end of the section. Gametocysts may be founded by the curling formation of syzygy to create self-wrapping walls. Gametocysts, the stage with the appearance of black or brown coloring, consist of a large number of gymnospores. The infections caused by Nematopsis and Cephalolobus were found to be in similar manner. The difference is that the epimerite of Cephalolobus was found to develop to hold fast to the host’s gastrointestinal wall. The infection was found in both black tiger prawns and banana shrimps, but with less prevalence than the infection caused by Nematopsis protozoans | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_105.pdf | 6.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น