กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3604
ชื่อเรื่อง: | การประเมินศักยภาพและการสร้างตำรับยาใหม่ของสมุนไพรไทยสำหรับการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation and new formulation of Thai herbs for treatment of erectile dysfunction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกรัฐ ศรีสุข กล่าวขวัญ ศรีสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กระชายดำ กวาวเครือแดง การรักษาด้วยสมุนไพร ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ -- การรักษา เร่วหอม สมุนไพรไทย -- การใช้รักษา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คือการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวหรือคงการแข็งตัว ได้ตลอดการมีเพศสัมพันธ์ สาเหตุหนึ่งของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของเพศชายคือ ภาวะความเครียดจากออกซิเดชันทำให้ปริมาณไนตริกออกไซด์ที่ช่วยในการคลายตัวของหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศชายไม่เพียงพอจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในการศึกษานี้ทำการศึกษาตำรับยาสมุนไพรสูตร BUU-ED-B3 ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากกวาวเครือแดงและกระชายดำ พบว่า สูตรสมุนไพรนี้มีฤทธิ์ที่ดีในการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ EA.hy926 และมีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH และซุปเปอร์ออกไซด์ จากนั้นทำการแยกสารบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์ในการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากตำรับยาสมุนไพรไทยสูตร BUUED-B3 โดยใช้วิธีคอลัมน์โครมาโตกราฟี ได้ส่วนสกัดย่อยทั้งหมด 13 ส่วน คือ BUU-ED-B3-1 ถึง BUU-EDB3-13 ซึ่งพบว่าส่วนสกัดย่อย BUU-ED-B3-7 และ BUU-ED-B3-9 มีจำนวนเท่าของการผลิตไนตริกออกไซด์ สูงมากกว่าเซลล์ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และมีฤทธิ์การกำจัดอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์แต่ส่วนสกัดย่อย BUUED-B3-9 แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ในขณะที่ส่วนสกัดย่อย BUU-ED-B3-7 ที่ความเข้มข้นที่ใช้ทดสอบไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ จึงทำการแยกสารจากส่วนสกัดย่อย BUU-ED-B3-7 โดยเทคนิค HPLC และพิสูจน์โครงสร้างด้วยการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโครปีและเปรียบเทียบข้อมูลกับสเปกตรัมของ NMR ของรายงานก่อนหน้านี้ ได้สารบริสุทธิ์จำนวน 6 ชนิด คือ สาร 5,7,3’,4’-tetramethoxyflavone สาร 3,5,7,3’4’-pentamethoxyflavone สาร 5,7-dimethoxyflavone สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone สาร 3,5,7-trimethoxyflavone และสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone ผลการศึกษาเหล่านี้อาจเป็นข้อมูลในการใช้สารออกฤทธิ์เหล่านี้เป็นตัวกำหนดปริมาณของสารสำคัญในตำรับยาสมุนไพร BUU-ED-B3 ที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3604 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_072.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น