กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3604
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เอกรัฐ ศรีสุข | |
dc.contributor.author | กล่าวขวัญ ศรีสุข | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-06-17T04:04:30Z | |
dc.date.available | 2019-06-17T04:04:30Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3604 | |
dc.description.abstract | โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คือการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวหรือคงการแข็งตัว ได้ตลอดการมีเพศสัมพันธ์ สาเหตุหนึ่งของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของเพศชายคือ ภาวะความเครียดจากออกซิเดชันทำให้ปริมาณไนตริกออกไซด์ที่ช่วยในการคลายตัวของหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศชายไม่เพียงพอจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในการศึกษานี้ทำการศึกษาตำรับยาสมุนไพรสูตร BUU-ED-B3 ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากกวาวเครือแดงและกระชายดำ พบว่า สูตรสมุนไพรนี้มีฤทธิ์ที่ดีในการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ EA.hy926 และมีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH และซุปเปอร์ออกไซด์ จากนั้นทำการแยกสารบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์ในการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากตำรับยาสมุนไพรไทยสูตร BUUED-B3 โดยใช้วิธีคอลัมน์โครมาโตกราฟี ได้ส่วนสกัดย่อยทั้งหมด 13 ส่วน คือ BUU-ED-B3-1 ถึง BUU-EDB3-13 ซึ่งพบว่าส่วนสกัดย่อย BUU-ED-B3-7 และ BUU-ED-B3-9 มีจำนวนเท่าของการผลิตไนตริกออกไซด์ สูงมากกว่าเซลล์ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และมีฤทธิ์การกำจัดอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์แต่ส่วนสกัดย่อย BUUED-B3-9 แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ในขณะที่ส่วนสกัดย่อย BUU-ED-B3-7 ที่ความเข้มข้นที่ใช้ทดสอบไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ จึงทำการแยกสารจากส่วนสกัดย่อย BUU-ED-B3-7 โดยเทคนิค HPLC และพิสูจน์โครงสร้างด้วยการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโครปีและเปรียบเทียบข้อมูลกับสเปกตรัมของ NMR ของรายงานก่อนหน้านี้ ได้สารบริสุทธิ์จำนวน 6 ชนิด คือ สาร 5,7,3’,4’-tetramethoxyflavone สาร 3,5,7,3’4’-pentamethoxyflavone สาร 5,7-dimethoxyflavone สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone สาร 3,5,7-trimethoxyflavone และสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone ผลการศึกษาเหล่านี้อาจเป็นข้อมูลในการใช้สารออกฤทธิ์เหล่านี้เป็นตัวกำหนดปริมาณของสารสำคัญในตำรับยาสมุนไพร BUU-ED-B3 ที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กระชายดำ | th_TH |
dc.subject | กวาวเครือแดง | th_TH |
dc.subject | การรักษาด้วยสมุนไพร | th_TH |
dc.subject | ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ -- การรักษา | th_TH |
dc.subject | เร่วหอม | th_TH |
dc.subject | สมุนไพรไทย -- การใช้รักษา | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การประเมินศักยภาพและการสร้างตำรับยาใหม่ของสมุนไพรไทยสำหรับการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ | th_TH |
dc.title.alternative | Evaluation and new formulation of Thai herbs for treatment of erectile dysfunction | en |
dc.type | Research | en |
dc.author.email | ekaruth@buu.ac.th | |
dc.author.email | klaokwan@buu.ac.th | |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Erectile dysfunction (ED) is the inability of penis to maintain or achieve completely sexual intercourse. Oxidative stress is one risk factor of ED. This causes insufficient blood supply to penis by decrease in nitric oxide regulating vasorelaxation. In this study, we investigated Thai herbal mixture BUU-ED-B3, which include extracts of Butea superba Roxb. (Leguminoceae family) root and Kaempferia parviflora Wall. ex Baker rhizomes. Herbal mixture BUU-ED-B3 increased nitric oxide production in human umbilical vein endothelial cell line (EA.hy 926 cells) and scavenged DPPH and superoxide radicals. The herbal mixture was fractionated by silica gel column chromatography to afford 13 fractions (BUU-ED-B3-1 to BUU-ED-B3-13). The BUU-ED-B3-7 and BUU-ED-B3-9 increased significantly nitric oxide production compared to control cells. The fraction BUU-ED-B3-9 caused significant cytotoxicity against endothelial cells but BUU-ED-B3-7 did not. Thus, 6 compounds (5,7,3’,4’-tetramethoxyflavone, 3,5,7,3’4’-pentamethoxyflavone, 5,7-dimethoxyflavone, 5,7,4’-trimethoxyflavone, 3,5,7-trimethoxyflavone and 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone) were isolated from the fraction BUU-ED-B3-7 by HPLC technique. Their structures were elucidated on the basis of extensive spectroscopic analysis and by comparison of their NMR spectroscopic data with those reported in the literature. The obtained data indicated that the active compounds might be used as a marker for quality control of herbal mixture to determine bioactive compound from herbal mixture BUU-ED-B3 for treatment of erectile dysfunction. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_072.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น