กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/358
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของประชากรหอยแมลงภู่ (Perna viridis) บริเวณแหล่งเลี้ยง ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Green mussel, perna viridis, population structure changes in farming areas at Ang Sila, Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชญา กันบัว
คเชนทร เฉลิมวัฒน์
บัลลังก์ เนื่องแสง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หอยแมลงภู่ - - การเจริญเติบโต - - อ่างศิลา (ชลบุรี)
หอยแมลงภู่ - - การเลี้ยง - - อ่างศิลา (ชลบุรี)
หอยแมลงภู่ - - ไทย - - ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของประชากรหอยแมลงภู่ (Perna viridis) บริเวณแหล่งเลี้ยง ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2542 ถึงเดือนสิงหาคม 2543 โดยการปักหลักไม้ไผ่ พบการเติบโตของหอยแมลงภู่ส่วนกลางของหลักมีความยาวและอัตราการเติบโตสูงกว่าหอยแมลงภู่ที่อยู่ส่วนล่างและส่วนบนของหลักไม้ไผ่ ตามลำดับ อัตราส่วนของหอยแมลงภู่ตั้งแต่หอยแมลงภู่มีอายุ 3 เดือน ถึง 11 เดือน มีแนวโน้มว่าหอยแมลงภู่สามารถแยกเพศได้ชัดเจนเมื่อหอยแมลงภู่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป และมีช่วงระยะที่มีเซลสืบพันธุ์สมบูรณ์เต็มที่ เมื่ออายุ 4 เดือน โดยช่วงระยะที่หอยแมลงภู่มีความสมบูรณ์เพศเต็มที่มี 2 ช่วงคือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ กับช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม อุณหภูมิและความเค็มที่มีผลต่อการเติบโตของหอยแมลงภู่ ส่วนปริมาณออกซิเจนจนละลายน้ำและความขุ่นใสมีผลต่อปริมาณแพลงก์ตอนที่เป็นอาหารของหอยแมลงภู่ หาน้ำในแหล่งเลี้ยงหอยมีความขุ่นมากจะเป็นตัวกั้นแสง ทำให้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชและปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง ส่งผลให้หอยแมลงภู่เติบโตช้าลง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/358
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น