กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3588
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.authorจารุมาศ เมฆสัมพันธ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะประมง
dc.date.accessioned2019-06-06T07:18:51Z
dc.date.available2019-06-06T07:18:51Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3588
dc.description.abstractโครงการการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษาบริเวณพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด ทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 เดือนมีนาคม เดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งจะศึกษาและเก็บข้อมูลในบริเวณล้าคลองรอบอ่าวตราด 10 สถานี และในบริเวณอ่าว 15 สถานีโดยทำการศึกษาคุณภาพน้ำทั้งด้านกายภาพ (ความลึก ความเร็ว ทิศทางการไหลของกระแสน้ำ อุณหภูมิ ตะกอนแขวนลอย ความโปร่งแสง) คุณภาพน้ำด้านเคมี (ออกซิเจนละลายน้ำ พีเอช ความเค็ม ไนไตรท์ ไนเตรทแอมโมเนียม ออร์โธฟอสเฟต และซิลิเกต) และคุณภาพน้ำด้านชีวภาพ (คลอโรฟิลล์ เอ แพลงก์ตอนพืช) นอกจากนี้ยังทำการศึกษาคุณภาพดินตะกอน (ปริมาณสารอินทรีย์รวม และซัลไฟล์) รวมถึงความหนาแน่นของสัตว์หน้าดิน โดยผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ลำคลองรอบอ่าวตราดมีอิทธิพลต่อคุณภาพน้ำภาพรวม ในอ่าว โดยเฉพาะมวลน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำตราด ซึ่งจะมีสารอนินทรีย์ละลายน้ำในกลุ่มของไนโตรเจน ค่อนข้างสูง และออกซิเจนที่มากับน้ำมีค่าต่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) ในส่วนของคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวตราดพบว่า คุณภาพน้ำทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยเฉพาะออกซิเจนละลายน้ำที่มีค่ามากว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ในทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษาอย่างไรก็ตามพบว่า ปริมาณแร่ธาตุอาหารมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (ฤดูกาล) ค่อนข้างมากโดยเฉพาะแร่ธาตุอาหารในกลุ่มของสารอนินทรีย์ไนโตรเจนละลายน้ำ ที่มีการเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝนส่วนฟอสฟอรัสจะมีค่าคงที่ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนบริเวณอ่าวตราดยังคงน้อยอยู่ต่างจากกลุ่มไนโตรเจนซึ่งมีค่าสูงมาก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเกษตรกรรมเป็นหลักทั้งนี้ข้อมูลโดยภาพรวมของการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อ่าวตราดมีการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำที่สูงและได้รับแร่ธาตุอาหารจากแผ่นดินจำนวนมาก แต่ยังไม่เกิน ศักยภาพการรองรับของพื้นที่ เนื่องจากสามารถกลับมาสู่สภาวะปกติ ตามวงรอบของฤดูกาลได้ ทั้งนี้ประเมินได้จากค่าคลอโรฟิลล์ เอ และแร่ธาตุอาหารที่พบ โดยจะพิจารณาจากสัดส่วนของ Redfield ratio (N:P) อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ควรเฝ้าระวังและมีความเสี่ยงต่อความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำของพื้นที่อ่าวตราดในอนาคต ได้แก่ ปริมาณสารอินทรีย์ในดินตะกอน เนื่องจากสารอินทรีย์ถือได้ว่าเป็นสาเหตุของการลดลงของออกซิเจนในน้ำ และยังเป็นแหล่งสะสมของแร่ธาตุอาหาร ที่พร้อมจะปลดปล่อยออกมาสู่มวลน้ำในอนาคตต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษทางน้ำของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล : กรณีศึกษาบริเวณพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราดth_TH
dc.title.alternativeThe Carrying Capacity Assessment of a Coastal Ecosystem: a case study of Trat Bay, Trat Provinceth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpatrawut@buu.ac.th
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeThe Carrying Capacity Assessment of a Coastal Ecosystem: a case study of Trat Bay, Trat Province. The study was carried out during November 2016, March and July, 2017. We investigated of 10 canals along the Trat Bay (10 stations) and 15 stations in the bay. Water qualities were studied in terms of physical properties (depth, velocity, direction of flow, current, temperature, suspended sediment, transparency), chemical water quality (dissolved oxygen, pH, salinity, nitrite, nitrate, ammonium, orthophosphate and silicate) and biological water quality (chlorophyll a phytoplankton). In addition, sediment quality was studied (Total organic matter and saline content) and benthic density. The results of this study showed that the water discharge from the canals around the Trat Bay influence on the water quality in the bay. Especially the water flowing from the Trat River which brought high dissolve inorganic nitrogen and the dissolved oxygen was lowest during the rainy season. (July) In the part of 15 stations in the Trat Bay, the results indicated water quality was good condition especially dissolved oxygen concentration more than 4 mg / L. However, the nutrient concentration was changed over times (by seasons), especially dissolved inorganic nitrogen was increase in the rainy season. Dissolved inorganic phosphorus in the Trat Bay showed low concentration and unchanged, this point reflected that low effecting from domestic waste. In contrast, the nitrogen concentration was very high which main influenced from agriculture activities. The overviews of this study were presented that land discharge affected to the water environment in Trat Bay but the caring capacity of the area still sustain. Because the water quality can recover to normal by the season. It can be estimated from the chlorophyll A and nutrients concentration by proportions of Redfield ratio ( N:P). However, the organic matter concentration in sediment should be monitor continuously. Because organic matter is main cause of oxygen depletion in the water. It is also a minerals source which can be transport into the water.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_052.pdf7.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น