กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3584
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้โมเดลโค้งพัฒนาการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of models of the variables corralated with longgitudinal change in academic achievement using the growth curve model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อริสฬา เตหลิ่ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. กองทะเบียนและประมวลวัดผลการศึกษา
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: กองทะเบียนและประมวลวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (ONET) และคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นปีที่ 1 - 4 ของกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาโมเดลที่มีตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีตัวแปรร่วม (Covariate) ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (ONET) ของกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีที่เริ่มศึกษา ปีการศึกษา 2555 และสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2558 จำนวน 800 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ซึ่งรวบรวมจากระบบบริการการศึกษา กองทะเบียนและประมวลการศึกษา และระบบการรายงานผลอัตโนมัติ (RPS : Reporting Service System) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. เกรดเฉลี่ยสะสมในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา 2. โมเดลโค้งพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีตัวแปรร่วม ทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยทุกโมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่วนโมเดลโค้งพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีที่มีตัวแปรร่วม พบว่า ตัวแปรเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน มีอิทธิพลต่อคะแนนเริ่มต้นเป็นบวก มีอิทธิพลต่อคะแนนพัฒนาการเป็นลบ ทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3584
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_015.pdf1.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น