กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3559
ชื่อเรื่อง: ทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในมุมมองของรัฐ เอกชนและภาคประชาชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Alternative Industrial Developments of Eastern Seaboard Area in the Perspectives of State, Private and People Sector
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยณรงค์ เครือนวน
จิรายุทธ์ สีม่วง
กัมปนาท เบ็ญจนารี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาอุตสาหกรรม -- ไทย (ภาคตะวันออก)
ชายฝั่ง -- ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกนำเสนอโดยภาครัฐและกลไกรัฐ ทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกนำเสนอ โดยภาคเอกชน ทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกนำเสนอโดยภาคประชาชนและเปรียบเทียบ ทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งแสวงหาจุดร่วมของทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกนำเสนอโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ คือ แนวคิดการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) ผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าทางเลือก การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกนำเสนอโดยภาครัฐและเอกชนเป็นทางเลือกที่ต้องการสร้างความเติบโตให้กับตัวเลขทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการทำให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบ ต่อสังคมหรือชุมชนท้องถิ่น เป้าหมายของการนำเสนอทางเลือกเช่นนี้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกต่อไป ส่วนทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกิดจาก ภาคประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมแม้จะความแตกต่างในเชิงวิธีการหรือประเด็นที่นำเสนอ แต่เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายของทางเลือกเหล่านี้แล้วก็จะพบว่า เป็นไปในลักษณะของการสร้างเงื่อนไขเพื่อทำให้เกิดการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนข้อเสนอจากประชาชนในพื้นที่ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบเข้มข้นพวกเขาเห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาให้สอดคล้องกับฐานภูมินิเวศท้องถิ่นหรือการจัดโซนนิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีความชัดเจนกล่าวได้ว่าทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ อยู่ภายใต้ฐานคิดทางเลือกการพัฒนาแนวปฏิรูป (Reformist Development) ที่ไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนากระแสหลัก (Mainstream Development) โดยสิ้นเชิงเพียงแต่เพิ่มวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมใน รูปของความยั่งยืน ความรับผิดชอบ ความเป็นธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการพัฒนาแบบทุนนิยม ผ่านปฏิบัติการเพื่อให้เห็นภาพการพัฒนาแบบทุนนิยมสีเขียว (Green Capitalism) หรือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Development) รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง(Human Development/People-centered Development)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_004.pdf2.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น