กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3387
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชน: กรณีศึกษา โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of knowledge management for private school administration development: A case study of Preeyachoti school, Takhli, Nakornsawan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมุทร ชำนาญ
สมศักดิ์ ลิลา
ปาริชาต ปรียาโชติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารองค์ความรู้
การเรียนรู้องค์การ
โรงเรียนเอกชน - - การบริหาร
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชน กรณีศึกษา โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างรูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารระดับปฏิบัติการที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้จำนวน 5 คน ซึ่งได้ จากการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การพัฒนารูปแบบโดยการวิจัยปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วมโดยนำร่างรูปแบบมาทดลองใช้ในโรงเรียนปรียาโชติ เป็นเวลา 1 ภาคเรียน และการตรวจสอบความสมบูรณ์ของรุปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายการวางแผนการบริหารโรงเรียนเอกชน ผู้เชี่ยวชาญจากนักวิชาการด้านกรจัดการความรู้ เเละผู้เชี่ยวชาญจากผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนจำนวน 9 คน ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชน กรณีศึกษา โรงเรียนปรียาโชติ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ขั้นให้ความรู้ด้านการจัดการวามรู้ (Knowledge Managrment) ความรู้ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์บริบทเดิม การกำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมายของงานร่วมกัน 2) ดำเนินการใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Managrment Process) 7 ขั้นตอนได้แก่ การระบุความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การเเบ่งปันเเลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 7 ขั้นตอน เป็นการดำเนินการภายใต้การบริหารงานโรงเรียนเอกชนตามแผนปฏิบัติงาน โครงการ กิจกรรมซึ่งนำไปสู่นวัตกรรม ความพึงพอใจและสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมถึงการเผยเเพร่นวัตกรรมต่อไป โดยขั้นตอนของกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน จะมีการนำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้อย่างเหมาะสมมาใช้ 3) ปัจจัยเกื้อหนุนต่อการจัดการความรู้ ได้แก่ ภาวะผู้นำและทีมงานกลยุทธ์ เทคโนโลยี บรรยากาศในองค์กรและการสื่อสารจนเกิดผลสำเร็จ เกิดความพึงพอใจและสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่งผลให้เกิดเเรงบันดาลใจที่จะพัฒนาการบริหารจัดการงานอื่นให้ประสบผลสำเร็จกลับเข้าสู่วัฏจักรเดิม โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์บริบทเดิมเป็นไปตามรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชนต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
eduman9n2p47-62.pdf1.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น