กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3372
ชื่อเรื่อง: | ประชามติกับผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศ: ศึกษากรณีควิเบกและไครเมีย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Holding referendums and international legal consequences: Case studies of Quebec and Crimea |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระพงษ์ ภูริปาณิก ภัทรมน สาตรักษ์ สกฤติ อิสริยนนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กฎหมายระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชามติ สาขานิติศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | ประชามติจัดเป็นเครื่องการเมืองอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับแนวคิดประชาธิปไตยของตะวันตก การจัดทำประชามติตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนในกิจกรรมทางการเมือง ทั้งมิติภายใน และมิติภายนอกประเทศ บทความนี้มุ่งเน้นไปที่มิติภายนอกในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำประชามติเพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระในยุคหลังจากสงครามเย็น การจัดทำประชามติแสดงให้เห็นถึงการสร้างมาตรฐาน เพื่อวางรูปแบบการหารือกับประชาชนภายใต้บริบทของการกำหนดเจตจำนงของตนเองภายนอก อันแสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญของความต้องการในการแยกตัวออกจากรัฐเดิมโดยอาศัยกระบวนวิธีทางประชาธิปไตย แม้ว่าการจัดทำประชามติจะมีส่วนเข้ามาช่วยในกระบวนการของการสร้างรัฐและเป็นรูปแบบที่นำมาใช้มากที่สุดก็ตามแต่ข้อโต้แย้งที่สำคัญประการหนึ่ง คือการแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนผ่านการจัดทำประชามติไม่ได้นำไปสู่การแยกตัวออกจากรัฐเดิม แต่หน้าที่กลับไปอยู่ที่รัฐบาลกลางในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรหลังจากที่ได้รับฟังเสียงของประชาชนผ่านการลงประชามติ จากกรณีศึกษาที่นำมาเปรียบเทียบ คือ ความพยายามในการจัดทำประชามติเพื่อแยกตัวจากแคนาดาของมลรัฐควิเบก (ค.ศ. 1995) กับกรณีของการจัดทำประชามติของไครเมีย (ค.ศ. 2014) เพื่อขอสิทธิในการปกครองตนเองจากยูเครน พบว่า กรณีของควิเบกนั้น การจัดทำประชามติได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในขณะที่กรณีของไครเมียกลับโดนคัดค้านในเรื่องความชอบธรรมของการจัดทำประชามติ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3372 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
politic7n3p545-563.pdf | 329.04 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น