กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3351
ชื่อเรื่อง: | บทวิพากษ์ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล: ข้อจำกัดในการสร้างคำอธิบายทางสังคมศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A critique on rational choice theory: Limitations on explanations of social phenomenon |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จักรี ไชยพินิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทฤษฎีเกม ปฏิฐานนิยม สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลเป็นทฤษฎีที่มีคุณูปการอย่างมากต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลี่ให้เห็นถึงปัจจัยหลักของการตัดสินใจเลือกของตัวแสดง แต่ในทางปฏิบัติแล้วทฤษฎีดังกล่าวนี้ ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญ อันได้แก่ ระดับการวิเคราะห์ซึ่งจำเพาะเจาะจงเพียงตัวแสดงรายย่อย ความเป็นทางการของตัวทฤษฎีที่มีเงื่อนไขมากมายปัญหาในด้านการคำนึงถึงบรรทัดฐานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์เพียงลำพัง การขาดข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อทดสอบทฤษฎี ตลอดจนการละเลยอัตลักษณ์ของตัวแสดงที่มากกว่าผลประโยชน์ในการตัดสินใจ ข้อจำกัดเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามถึงการนำทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน ผลที่ตามมาคือ ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ได้อิทธิพลจากทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล อาทิทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบันของ โรเบิร์ต โคเฮน ทฤษฎีการข่มขู่ยับยั้ง ของสายอาชญาวิทยา และทฤษฎีทางเลือกสาธารณะของ วินเซนต์ ออสตรอม และเอลินอร์ ออสตรอม ย่อมมีข้อจำกัดในการสร้างคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์เช่นเดียวกัน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3351 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
bpe4n1p51-84.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น