กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3350
ชื่อเรื่อง: | การกระจุกตัวและการรวมศูนย์ทางอำนาจว่าด้วยเรื่อง "ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ" : กรณีศึกษาว่าด้วยเรื่องการค้าระหว่างประเทศในกรณีระบบเกษตรกรรมทางอาหาร |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วีระ หวังสัจจะโชค มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การค้าระหว่างประเทศ การรวมศูนย์ทางอำนาจ บรรษัทข้ามชาติ ระบบเกษตรกรรม สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญในระบบเศรษฐกิจสากลและการรวมกลุ่มความสัมพันธ์ในระบบเศรษฐกิจ นักวิชาการบางส่วนเห็นว่าการแข่งขันทางเศรษฐกิจสามารถทำความเข้าใจผ่านการค้าระหว่างประเทศและหลักการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ดี บทความนี้มีข้อถกเถียงว่าความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสามารถถูกทำความเข้าใจจากกรอบของการกระจุกตัวและการรวมศูนย์อำนาจของทุนในกรอบวิเคราะห์ของกลุ่ม Marxian โดยความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสร้างระบบผูกขาดในระบบเศรษฐกิจสากลผ่านตัวแสดง “บรรษัทข้ามชาติ” ไม่ใช่ผลประโยชน์แห่งชาติ นอกจากนี้ การผูกขาดยังได้รับการสนับสนุนจากข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อเชื่อมโยงทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถดูได้จากตัวอย่างของการค้าระหว่างประเทศในระบบเกษตรกรรมทางอาหารที่มีการควบคุมด้วยการกระจุกตัวและรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขันได้สร้างระบอบอาหารรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ระบอบบรรษัทอาหาร” ที่มีบรรษัทข้ามชาติทางด้านเกษตรกรรมทางอาหารเป็นตัวแสดงหลัก การกระจุกตัวของอำนาจ ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและบรรษัทยักษ์ใหม่ ข้อตกลงระหว่างประเทศ และการครอบงำทางความคิดในเรื่องของตัวชี้วัดขีด ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3350 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
bpe4n1p25-48.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น