กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3335
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของวัดป่ากับกระบวนการพัฒนาคนและสังคม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The forest monasteries roles on human and social development process |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ จันทร์ชลี มาพุทธ กัลยลักษณ์ อยู่เย็น มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาสังคม วัด |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของวัดป่า เป้าหมาย และความคาดหวังของชุมชนที่มีต่อวัดป่า 2) บทบาทของวัดป่ากับการพัฒนาคนและสังคม 3) กระบวนการพัฒนาคนและสังคมของวัดป่า และ 4) ผลของการพัฒนาคนและสังคม โดยศึกษาจาก 4 พื้นที่ ได้แก่ วัดสวนโมกข์ วัดป่า ดาราภิรมย์ วัดสุนันทวนารามและวัดป่าบ้านตาด การศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะของวัดป่าทั้ง 4 แห่ง มีความร่มรื่น สงบ สะอาด พระภิกษุสงฆ์ฉันอาหารวันละครั้งและฉันในบาตร เป้าหมายของวัดป่า พระภิกษุสงฆ์จะเน้นการปฏิบัติจริงจังในเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา ขณะเดียวกันก็มุ่งพัฒนาคนในด้านจิตใจ ให้เข้าใจโลก รู้จักตัวเอง รู้จักความทุกข์ ยอมรับความจริง และปรับแนวทางการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างมีความสุข ด้วยการพัฒนาจิตใจของตน และเกื้อกูลสังคม ความคาดหวังของชุมชน พบว่า ชุมชนต้องการให้วัดป่าเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่ฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา และเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจ 2. บทบาทของวัดป่าทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านศาสนาศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ศาสนา ด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์ พบว่า เป็นไปตามกฎของมหาเถรสมาคมพระธรรมวินัย และกฎของวัดแต่ละแห่ง 3. กระบวนการพัฒนาคนและสังคมของวัดป่า ได้แก่ การจัดค่ายอบรมสมาธิภาวนา การบรรพชาอุปสมบท การฝึกงานอาชีเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน การเผยแพร่ธรรมะ โดยมีป้ายคำสอนธรรมะภายในวัด การแจกหนังสือธรรมะ การสวดมนต์ การเทศนาฟังธรรม มีการจัดเตรียมอาหารและที่พักสำหรับผู้มาทำสมาธินอกจากนั้นยังมีการเผยแพร่ธรรมะทางวิทยุ โทรทัศน์ ทางเว็บไซต์ หนังสือธรรมะ และแผ่นซีดี 4. ผลการพัฒนาคนและสังคม พบว่า ผู้เข้าอบรมเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ การแต่งกาย การสำรวม มีความอ่อนน้อม มีวินัยมีความรับผิดชอบ และไม่เห็นแก่ตัว ด้านจิตใจ มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ จิตใจดีมีความเกรงใจผู้อื่น ซื่อสัตย์ จริงใจ ใจเย็น มีสติ มรเหตุผล อดทน กตัญญูรู้คุณ และมีความเสียสละ ด้านปัญญา ความสามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รู้เท่าทัน รู้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขด้านสังคม ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาอย่างดีจะออกมาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยทุ่มเทได้ทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกาย |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3335 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusocial11n2p141-153.pdf | 602.07 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น