กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3335
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.authorจันทร์ชลี มาพุทธ
dc.contributor.authorกัลยลักษณ์ อยู่เย็น
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:20Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:20Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3335
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของวัดป่า เป้าหมาย และความคาดหวังของชุมชนที่มีต่อวัดป่า 2) บทบาทของวัดป่ากับการพัฒนาคนและสังคม 3) กระบวนการพัฒนาคนและสังคมของวัดป่า และ 4) ผลของการพัฒนาคนและสังคม โดยศึกษาจาก 4 พื้นที่ ได้แก่ วัดสวนโมกข์ วัดป่า ดาราภิรมย์ วัดสุนันทวนารามและวัดป่าบ้านตาด การศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะของวัดป่าทั้ง 4 แห่ง มีความร่มรื่น สงบ สะอาด พระภิกษุสงฆ์ฉันอาหารวันละครั้งและฉันในบาตร เป้าหมายของวัดป่า พระภิกษุสงฆ์จะเน้นการปฏิบัติจริงจังในเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา ขณะเดียวกันก็มุ่งพัฒนาคนในด้านจิตใจ ให้เข้าใจโลก รู้จักตัวเอง รู้จักความทุกข์ ยอมรับความจริง และปรับแนวทางการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างมีความสุข ด้วยการพัฒนาจิตใจของตน และเกื้อกูลสังคม ความคาดหวังของชุมชน พบว่า ชุมชนต้องการให้วัดป่าเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่ฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา และเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจ 2. บทบาทของวัดป่าทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านศาสนาศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ศาสนา ด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์ พบว่า เป็นไปตามกฎของมหาเถรสมาคมพระธรรมวินัย และกฎของวัดแต่ละแห่ง 3. กระบวนการพัฒนาคนและสังคมของวัดป่า ได้แก่ การจัดค่ายอบรมสมาธิภาวนา การบรรพชาอุปสมบท การฝึกงานอาชีเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน การเผยแพร่ธรรมะ โดยมีป้ายคำสอนธรรมะภายในวัด การแจกหนังสือธรรมะ การสวดมนต์ การเทศนาฟังธรรม มีการจัดเตรียมอาหารและที่พักสำหรับผู้มาทำสมาธินอกจากนั้นยังมีการเผยแพร่ธรรมะทางวิทยุ โทรทัศน์ ทางเว็บไซต์ หนังสือธรรมะ และแผ่นซีดี 4. ผลการพัฒนาคนและสังคม พบว่า ผู้เข้าอบรมเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ การแต่งกาย การสำรวม มีความอ่อนน้อม มีวินัยมีความรับผิดชอบ และไม่เห็นแก่ตัว ด้านจิตใจ มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ จิตใจดีมีความเกรงใจผู้อื่น ซื่อสัตย์ จริงใจ ใจเย็น มีสติ มรเหตุผล อดทน กตัญญูรู้คุณ และมีความเสียสละ ด้านปัญญา ความสามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รู้เท่าทัน รู้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขด้านสังคม ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาอย่างดีจะออกมาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยทุ่มเทได้ทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกายth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th_TH
dc.subjectการพัฒนาสังคมth_TH
dc.subjectวัดth_TH
dc.titleบทบาทของวัดป่ากับกระบวนการพัฒนาคนและสังคมth_TH
dc.title.alternativeThe forest monasteries roles on human and social development processen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume11
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study 1. The characteristics, the target and the community expectation of the forest monasteries 2. The forest monasteries roles on human and social development 3. The process on human and social development and 4. The results of human and social development. The area of study from the 4 regions which were Wat Suan mokkh, Wat Pa Daraphirom, Wat Sunantawanaram and Wat Pa Ban Tad. This study was a qualitative research using non-participant observation, participant observation and structural interview by the content analysis. The study found that: 1.The forest monasteries were shady, peaceful and clean. The monks had one meal daily and the food was served in the monk’s food bowl. As to each forest monastery principal, it was found that the monks would take practicing Dhamma and meditation seriously. At the same time they intended to develop human mind for world, themselves and suffering understanding and adjusted for happiness way of lives by means of mind development and support for community. It was found that the communities expected that the forest monasteries should be their mental supporter and should be the place for practicing meditation and doing religious activities. 2.Six roles of the forest monasteries were composed of administration, religious study, educational welfare, religious dissemination, public assistance and public welfare. It was found that most of these roles were under the Sangha Supreme Council, the rules of Pra Dhammawinai and the rules of each monastery. 3.The processes of human and social development were arranging meditation camps, ordinations, practicing occupations in order to solve economic problems, promote Dharma by putting on Dharma advertising posters, distributing Darma books, praying, sermon and prepare the food, cosy accommodation, so as to be convenient to those who come for meditation. Besides that, there are Dharma radio Programs, Dharma television Programs, website, dharma books, CD etc. 4.The results of human and social development programs were found that the persons participated often obviously revealed a better behavior, mind and wisdom. There were changed in personality, dressing, manner, self-controlled, responsible and selfless. As to the mind: they were, kind, generous, considerate, honest, sincere, calm, mindful, sacrifice, gratitude, calm and reasonable, patient, grateful and sacrificial. As to the intellectual: the persons could understand various things correctly, be reasonable and be able to live in the society happily. Socially, one who was well socialization, would work for society, both with property and strength.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page141-153.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial11n2p141-153.pdf602.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น