กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3239
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of empowerment model to improve accounting competency of accountant
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
สมศักดิ์ ลิลา
สมรัชนาฏ ฦาชา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบัญชี
นักบัญชี
สมรรถนะ
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อและศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาและศึกษาผลการดำเนินงานของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานด้านบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 596 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดระยอง จำนวน 300 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two- Stage Random Sampling Technique) โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factory Analysis; CFA) ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทำการศึกษานำร่องกับนักบัญชีที่ปฏบัติงานอยู่ในจังหวัดชลบุรี อำเภอบางละมุง จำนวน 15 คน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี กับนักบัญชีที่ปฏิบัติงานด้านบัญชีในจังหวัดชลบุรี จาก 2บริษัท จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากความสมัครใจที่จะเข้าร่วมการพัฒนาของนักบัญชีและผู้บริหารองค์กร ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองแบบแผนกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบประเมินสมรรถนะด้านบัญชีของนักบัญชี และการเสริมพลังอำนาจในการทำงาน และนำมาเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะด้านบัญชีและการเสริมพลังอำนาจในการทำงานในตนเอง โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชี ของนักบัญชี ผู้ทรงคุณวุฒิและนักบัญชีมีความเห็นว่า รูปแบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินในด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักบัญชีผู้เข้าอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านบัญชีหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักบัญชีผู้เข้าอบรมมีคะแนนความสามารถในการเสริมพลังอำนาจการทำงานในตนเองหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3239
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu26n3p166-177.pdf197.01 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น