กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3236
ชื่อเรื่อง: | จังหวัดระยอง: จากเศรษฐกิจชุมชนถึงทุนนิยมโลกาภิวัตน์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โอฬาร ถิ่นบางเตียว มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาอุตสาหกรรม - - ไทย - - ระยอง นิคมอุตสาหกรรม - - ไทย - - ระยอง ระยอง - - ภาวะเศรษฐกิจ สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | จังหวัดระยองในอดีตมีลักษณะทางเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชาวระยองดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาทรัพยากรในท้องถิ่น มีการผลิตเพื่อยังชีพ มุ่งการหาปัจจัย 4 เพื่อการบริโภคในครอบครัว ได้แก่ การปลูกข้าว หาปลา ทอผ้า หาของป่า และสมุนไพร เลี้ยงวัวควายเพื่อใช้ไถนา ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวบ้านภายใต้ระบบไพร่และศักดินาอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนแรงงานซึ่งเป็นการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีพ การสร้างถนนสุขุมวิทและสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงได้เชื่อมจังหวัดระยองเข้าสู่โลกทุนนิยม ได้ทำให้เกิดการขยายตัวของการผลิตเพื่อขยายพืชเศรษฐกิจในจังหวัดระยอง มีผู้ผลิตรายย่อยอิสระส่วนใหญ่เกิดขึ้น ขาวระยองได้ขยายพื้นที่ทำไร่ทำสวนมากขึ้น มีการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจขยายตัวกว้างขวางขึ้นไปอีกระหว่าง ปี พ.ศ. 2490-2510 เมื่อนายทุนของสัมปทานทำป่าไม้ในป่าดงดิบอย่างกว้างขวาง การสัมปทานป่าไม้ทำให้เกิดโรงเลื่อยสมัยใหม่จำนวนมาก โรงเลื่อยเหล่านี้ใช้เลื่อยจักรขนาดใหญ่ รถยนต์ชักลากไม้ซุง และเรือเดินทะเล ขนาดใหญ่บรรทุกไม้กระดานส่งขายกรุงเทพฯ และต่างประเทศ ส่วนการทำนาช่วงหลังการสรา้งถนนสุขุมวิทได้มีการปรับเป้าหมายการผลิตจากการเกษตรเพื่อยังชีพไปสู่การเกษตรเพื่อขายมากขึ้นคือ เปลี่ยนไปสู่การทำงานเพื่อ "กินเหลือขาย" การผลิตเพื่อขายในระยองพัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจเงินตราขยายตัวจากการใช้จ่ายของทหารอเมริกันที่สนามบินอู่ตะเภา การขยายตัวของอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองได้สะท้อนให้เห็นถึงการครอบงำของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมอย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มี นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการพัฒนาฯชายฝั่งทะเลตะวันออก จากการขยายตัวของเศรษฐกิจในจังหวัดระยองต่อเนื่องกว่า 5 ทศวรรษ รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระยองให้เป็นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาค ส่งผลให้มีการขยายการลงทุนอย่างกว้างขวาง และการไหลเข้าของทุนต่างชาติ เศรษฐกิจของจังหวัดทะยานเข้าสู่โลกาภิวัตน์เต็มรูปแบบ จนกล่าวได้ว่าจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่เข้าสู่โลกาภิวัตน์เป็นจังหวัดแรกในภูมิภาค |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3236 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
bpe2n1p47-71.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น