กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3236
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | โอฬาร ถิ่นบางเตียว | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:21:26Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:21:26Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3236 | |
dc.description.abstract | จังหวัดระยองในอดีตมีลักษณะทางเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชาวระยองดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาทรัพยากรในท้องถิ่น มีการผลิตเพื่อยังชีพ มุ่งการหาปัจจัย 4 เพื่อการบริโภคในครอบครัว ได้แก่ การปลูกข้าว หาปลา ทอผ้า หาของป่า และสมุนไพร เลี้ยงวัวควายเพื่อใช้ไถนา ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวบ้านภายใต้ระบบไพร่และศักดินาอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนแรงงานซึ่งเป็นการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีพ การสร้างถนนสุขุมวิทและสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงได้เชื่อมจังหวัดระยองเข้าสู่โลกทุนนิยม ได้ทำให้เกิดการขยายตัวของการผลิตเพื่อขยายพืชเศรษฐกิจในจังหวัดระยอง มีผู้ผลิตรายย่อยอิสระส่วนใหญ่เกิดขึ้น ขาวระยองได้ขยายพื้นที่ทำไร่ทำสวนมากขึ้น มีการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจขยายตัวกว้างขวางขึ้นไปอีกระหว่าง ปี พ.ศ. 2490-2510 เมื่อนายทุนของสัมปทานทำป่าไม้ในป่าดงดิบอย่างกว้างขวาง การสัมปทานป่าไม้ทำให้เกิดโรงเลื่อยสมัยใหม่จำนวนมาก โรงเลื่อยเหล่านี้ใช้เลื่อยจักรขนาดใหญ่ รถยนต์ชักลากไม้ซุง และเรือเดินทะเล ขนาดใหญ่บรรทุกไม้กระดานส่งขายกรุงเทพฯ และต่างประเทศ ส่วนการทำนาช่วงหลังการสรา้งถนนสุขุมวิทได้มีการปรับเป้าหมายการผลิตจากการเกษตรเพื่อยังชีพไปสู่การเกษตรเพื่อขายมากขึ้นคือ เปลี่ยนไปสู่การทำงานเพื่อ "กินเหลือขาย" การผลิตเพื่อขายในระยองพัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจเงินตราขยายตัวจากการใช้จ่ายของทหารอเมริกันที่สนามบินอู่ตะเภา การขยายตัวของอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองได้สะท้อนให้เห็นถึงการครอบงำของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมอย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มี นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการพัฒนาฯชายฝั่งทะเลตะวันออก จากการขยายตัวของเศรษฐกิจในจังหวัดระยองต่อเนื่องกว่า 5 ทศวรรษ รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระยองให้เป็นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาค ส่งผลให้มีการขยายการลงทุนอย่างกว้างขวาง และการไหลเข้าของทุนต่างชาติ เศรษฐกิจของจังหวัดทะยานเข้าสู่โลกาภิวัตน์เต็มรูปแบบ จนกล่าวได้ว่าจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่เข้าสู่โลกาภิวัตน์เป็นจังหวัดแรกในภูมิภาค | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การพัฒนาอุตสาหกรรม - - ไทย - - ระยอง | th_TH |
dc.subject | นิคมอุตสาหกรรม - - ไทย - - ระยอง | th_TH |
dc.subject | ระยอง - - ภาวะเศรษฐกิจ | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | จังหวัดระยอง: จากเศรษฐกิจชุมชนถึงทุนนิยมโลกาภิวัตน์ | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 2 | |
dc.year | 2557 | |
dc.description.abstractalternative | In the past, Economy of Rayong province was subsistence economy. The livelihood of people relied on local resources. They cultivated for consumption and sought for four requisites for their family consumption which composed of cultivating rice, fishing, weaving, collecting non-timber forest products and herbs and raising cattle for plowing. Under the prai system, the relationship between villagers and state was based on labour exchange in the village. The construction of Sukhumvit road and Bangprakong River Bridge linked Rayong province into capitalism. This leaded to the expansion of important crop production for sale, and small suppliers, expansion of crop land. These expansions were seen more obviously during 1947-1967 land. These expansions were seen more obviously during 1947-1967 because capitalists widely requested for being logging concessionarie on tropical rain forests. The logging concession caused to increase modern sawmills that normally used huge saw. chain saw, truck for hauling timber and ship for transporting plank both domestic and fore ports. After Sukhumvit road construction, rice cropping had to adjust goal from subsistence farming to cash farming, to consume the rest. Cash farming in Rayong was developed to another step because of money economy expansion, the increase in expenditure of American soldiers at U Taphao airport. The expansion of industry in Rayong Province reflects the domination of capitalism apparently since the promulgation of industry development policy and Eastern Seaboard Development Project. Five decades of economic expansion in Rayong province. development strategies of governments caused of extension investment and foreign capital flow. Thus Rayong is the first province of Eastern Region fully stepped into economic globalization. | en |
dc.journal | วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา = Burapha Journal of Political Economy | |
dc.page | 47-71. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
bpe2n1p47-71.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น