กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3234
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of inquiry instructional model on mathematical problem solving and reasoning ability in application of trigonometric function of mathayomsuksa five students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชมพูนุท รุ่งสว่าง
พรรณทิพา พรหมรักษ์
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
คณิตศาสตร์ - - กิจกรรมการเรียนการสอน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสแบสวนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนชลกันยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 230 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 12 คาบ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคริตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการทดสอบที (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนร็ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยบะ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu26n3p92-104.pdf226.94 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น