กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3206
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาไทย เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาทอง จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development integrated curriculum of science and Thai language courses on topic "Living Plant" for grade 4 students of Ban Khaothong School, Chantaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
นพมณี เชื้อวัชรินทร์
วันทนี น้อยถนอม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาไทย - - หลักสูตร
วิทยาศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วิทยาศาสตร์ - - หลักสูตร
หลักสูตร
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาไทย เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาทอง จังหวัดจันทบุรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ 4 ขั้นตอน 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร 4) การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร กลุ่มประชากรในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรบูรณาการ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย แบบวัดเจตคติต่อการเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่าได้หลักสูตรบูรณาการที่มีความเหมาะสมระดับมาก (X̅= 4.29, SD = 0.47) และมีค่าความสอดคล้อง (0.95)หลักสูตรมีส่วนประกอบครบถ้วน มีความสอดคล้องกับความต้องการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และเจตคติต่อการเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาไทย เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาทอง จังหวัดชลบุรี อยู่ในเกณฑ์ ที่ดีมาก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3206
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc10n1p175-185.pdf706.84 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น