กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3190
ชื่อเรื่อง: วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Life style and guidelines for well being of the elderly in the eastern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทร์ชลี มาพุทธ
รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
พรทิพย์ สุขอดิศัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ - - การดำเนินชีวิต - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สุขภาวะ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุ วิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก เก็บข้อมูลโดย 1) การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุในภาคตะวันออก จำนวน 384 คน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะเหมาะสมมากที่สุดในภาคตะวันออก จำนวน 11 คน และ 3) การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้สูงอายุ นักการศึกษาสาธารณสุขงานสร้างเสริมสุขภาพ แพทย์ผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ สุขภาวะด้านจิตวิญญาณ รองลงมา ได้แก่ สุขภาวะด้านสังคม สุขภาวะด้านจิตใจ และสุขภาวะด้านร่างกาย รวมทั้งสุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 84.15 2. วิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1) การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี คือ มีสถานบริการสุขภาพและเจ้าหน้าที่ให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกวัย มีแหล่งอาหารในชุมชนที่สะอาดปลอดภัยมีบ้านพักอาศัยที่สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในชุมชนที่เหมาะสม มีการจัดการนำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดปลอดภัย และการอยู่ในอากาศปราศจากมลพิษ 2) มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ 3) มีการออกกำลังกาย 4) โภชนาการ คือ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อ ปริมาณพอเหมาะ ผักและผลไม้เป็นประจำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้โทษ 5) มีการจัดการความเครียด คือ มีการมองโลกในแง่ดีและมีอารมณ์ขัน ทำงานอดิเรกและใช้ หลักธรรมเป็นที่พึ่งทางใจ 6) มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวและในสังคมที่ดี 7) มีจิตวิญญาณที่มีเป้าหมาย คือ การที่ได้ดูแลลูกหลาน การเห็นคุณค่าในตนเองและการมีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และ 8) ภูมิปัญญาและ วิถีชีวิต คือ บริโภคสมุนไพร บริโภคอาหารพื้นบ้าน ปรุงอาหารด้วยตนเอง และอยู่ในธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์ 3. แนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1) ระดับบุคคล ควรมีพฤติกรรม สุขภาวะ คือ มีการตรวจสุขภาพประจำปี หาความรู้ในการดูแลสุขภาพ ครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการดูแล ควรออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน มีการบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณพอเหมาะในแต่ละมื้อ เน้นปลา ผัก ผลไม้ทุกวัน หลีกเลี่ยงอาหารให้โทษ นำธรรมมะเป็นที่พึ่งทางใจ มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีทั้งในครอบครัวและชุมชนเห็นคุณค่าในตนเองที่ทำประโยชน์ให้กับครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ควรมีการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพร บริโภค อาหารพื้นบ้าน ปรุงอาหารด้วยตนเอง อยู่ในธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์และการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง 2) ระดับชุมชนควรมีการดำเนินการ คือ การจัดสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจในชุมชน การจัดกลุ่มจัดการขยะที่นำมาใช้ใหม่ การจัดให้มีชมรมส่งเสริมสุขภาพ ชมรมจิตอาสา ชุมชนต้นแบบด้านภูมิปัญญาสมุนไพรและวิถีชีวิตแบบธรรมชาติพื้นบ้าน และ 3) ระดับหน่วยงาน ควรดำเนินการ คือ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้วัคซีนสร้าง ภูมิคุ้มกันโรคที่ครอบคลุมประชาชนทุกวัยและโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กระทรวงศึกษาธิการควรมีการดำเนินการในเรื่องการส่งเสริมด้านโภชนาการทุกสถานศึกษา และกรมสุขภาพจิตควรมีนโยบายการจัดพยาบาลสุขภาพจิตระดับตำบล ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนทุกวัย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3190
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc10n1p90-102.pdf720.84 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น