กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3190
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจันทร์ชลี มาพุทธ
dc.contributor.authorรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
dc.contributor.authorพรทิพย์ สุขอดิศัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:21:22Z
dc.date.available2019-03-25T09:21:22Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3190
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุ วิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก เก็บข้อมูลโดย 1) การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุในภาคตะวันออก จำนวน 384 คน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะเหมาะสมมากที่สุดในภาคตะวันออก จำนวน 11 คน และ 3) การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้สูงอายุ นักการศึกษาสาธารณสุขงานสร้างเสริมสุขภาพ แพทย์ผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ สุขภาวะด้านจิตวิญญาณ รองลงมา ได้แก่ สุขภาวะด้านสังคม สุขภาวะด้านจิตใจ และสุขภาวะด้านร่างกาย รวมทั้งสุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 84.15 2. วิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1) การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี คือ มีสถานบริการสุขภาพและเจ้าหน้าที่ให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกวัย มีแหล่งอาหารในชุมชนที่สะอาดปลอดภัยมีบ้านพักอาศัยที่สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในชุมชนที่เหมาะสม มีการจัดการนำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดปลอดภัย และการอยู่ในอากาศปราศจากมลพิษ 2) มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ 3) มีการออกกำลังกาย 4) โภชนาการ คือ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อ ปริมาณพอเหมาะ ผักและผลไม้เป็นประจำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้โทษ 5) มีการจัดการความเครียด คือ มีการมองโลกในแง่ดีและมีอารมณ์ขัน ทำงานอดิเรกและใช้ หลักธรรมเป็นที่พึ่งทางใจ 6) มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวและในสังคมที่ดี 7) มีจิตวิญญาณที่มีเป้าหมาย คือ การที่ได้ดูแลลูกหลาน การเห็นคุณค่าในตนเองและการมีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และ 8) ภูมิปัญญาและ วิถีชีวิต คือ บริโภคสมุนไพร บริโภคอาหารพื้นบ้าน ปรุงอาหารด้วยตนเอง และอยู่ในธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์ 3. แนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1) ระดับบุคคล ควรมีพฤติกรรม สุขภาวะ คือ มีการตรวจสุขภาพประจำปี หาความรู้ในการดูแลสุขภาพ ครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการดูแล ควรออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน มีการบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณพอเหมาะในแต่ละมื้อ เน้นปลา ผัก ผลไม้ทุกวัน หลีกเลี่ยงอาหารให้โทษ นำธรรมมะเป็นที่พึ่งทางใจ มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีทั้งในครอบครัวและชุมชนเห็นคุณค่าในตนเองที่ทำประโยชน์ให้กับครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ควรมีการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพร บริโภค อาหารพื้นบ้าน ปรุงอาหารด้วยตนเอง อยู่ในธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์และการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง 2) ระดับชุมชนควรมีการดำเนินการ คือ การจัดสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจในชุมชน การจัดกลุ่มจัดการขยะที่นำมาใช้ใหม่ การจัดให้มีชมรมส่งเสริมสุขภาพ ชมรมจิตอาสา ชุมชนต้นแบบด้านภูมิปัญญาสมุนไพรและวิถีชีวิตแบบธรรมชาติพื้นบ้าน และ 3) ระดับหน่วยงาน ควรดำเนินการ คือ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้วัคซีนสร้าง ภูมิคุ้มกันโรคที่ครอบคลุมประชาชนทุกวัยและโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กระทรวงศึกษาธิการควรมีการดำเนินการในเรื่องการส่งเสริมด้านโภชนาการทุกสถานศึกษา และกรมสุขภาพจิตควรมีนโยบายการจัดพยาบาลสุขภาพจิตระดับตำบล ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนทุกวัยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - - การดำเนินชีวิต - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectสุขภาวะth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleวิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeLife style and guidelines for well being of the elderly in the eastern regionen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume10
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to investigate the level of well-being, lifestyle of the healthy elderly and to propose a guideline for the healthy elderly in the eastern region of Thailand. Data were collected by a questionnaire assessing well-being status of 384 elders in the eastern region. Eleven healthy elders were in-depth interviewed, and 10 experts consisting of health promotion personnel, health volunteers, the elderly, educators, and physicians working in health promotion field were interviewed using focus group approach. The results were as follows: 1. The overall of well-being status of the elderly in the eastern region was at a high level. Concerning each dimension, the results showed that the spiritual well-being dimension was in the highest level, followed by social well-being, psychological well-being, physical well-being, and environment well-being, respectively. 2. Lifestyle of the healthy elderly in the eastern region consisted of; 1) living in good environment, such as accessibility to health promotion services for all aged-groups provided by health personnel; safety and clean food resources; comfortable, clean and safety housing; appropriate waste disposal system in community; clean water supply; and fresh air without pollution; 2) having responsibility to their health; 3) practicing regular exercise; 4) selecting good nutrition in terms of appropriateness in volume and quality of various kinds of food, especially fruits and vegetable as well as avoiding unhealthy food; 5) having effective stress management with positive thinking and using sense of humor, spending time on leisure, practicing based on religious doctrines; 6) good relationship with family and other people; 7) purposive spiritual needs, such as taking care of grand-children, high self-esteem and strongly believe in religions and; 8) using local wisdom หน้าที่ 92 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2557 to promote health, such as using herbs, consuming local food cooked by themselves and living in unpolluted environment. 3. A guideline for the healthy elderly in the eastern region composed of three levels. Firstly, the individual level, the elderly should perform health behaviors, including annual physical checkup, seeking information about health care practice, support from their family members, daily exercise, good nutrition Consumption habits, adequate nutrition for community dwelling in each meal with a lot of fish, vegetable, and fruits, avoiding unhealthy food, practicing religious activity, building good relationships within family and community, and understanding their own value distributed to the family and community. In addition, the elderly should use the local wisdom to promote health, eat local food, cook for themselves, stay in the environment with fresh air, and perform daily activity by themselves. Secondly, at the community level, in their community, the elderly should have a place to do exercise, recreational area, a group of people managing waste disposal and reuse, management of health promotion clubs, volunteer association, community model for the local wisdom practice and natural way of life. The last was the organizational level. In order to promote health for the elderly, the Ministry of Public Health should set policies to provide immunization covering all age groups of population and also have policies to prevent newly emerged diseases. Moreover, the Ministry of Education should set policies to promote healthy food in school. Furthermore, the Department of Mental Health, Ministry of Public Health should set policies to provide mental health nurses to sub-districts to promote mental health for all age groups of people.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development.
dc.page90-102.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc10n1p90-102.pdf720.84 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น