กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/316
ชื่อเรื่อง: | การผลิตอาหารเม็ดสำหรับการเลี้ยงปลาดุกอุยด้วยแนวทางการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยอาหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Formulation of catfish (clarias macrocephalus) pellet by digestibility approach |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปลา - - อาหาร ปลาดุกอุย - - การเลี้ยง ปลาดุกอุย - - อาหาร - - วิจัย ปลาดุกอุย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาสูตรอาหารเม็ดสำหรับการเลี้ยงปลาดุกอุยจากแนวทางการประเมินประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ในหลอดทดลองของเอนไซม์ปลาดุกอุย(Clarias macrocephalus) เริ่มทำโดยสกัดเอนไซม์จากกระเพาะอาหารและลำไส้ของปลาดุกอุยเพื่อหาอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์และช่วงอายุที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ แล้วนำเอนไซม์สกัดมาย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ในหลอดทดลองเพื่อผลิตสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาดุกอุย เอนไซม์ทริปซินและไคโมทริปซินจากกระเพาะอาหารและลำไส้ของปลาดุกอุยที่อายุ 45 60 75 90 105 และ 120 วัน เมื่อนำไปทำการวัดแอคติวิตีที่ระกฃดับอุณห๓มิ 20 องศาเซลเซียส ถึง 70 องศาเซลเซียส โดยเพิ่มระดับอุณหภมิครั้งละ 5 องศาเซลเซียส โดยใช้ Benzoyl-L-arginine-p-nitroanilide และ N-succinyl-ala-ala-pro-phe-p-nitronilide เป็นสับสเตรทตามลำดับ พบว่า แอคติวิตีของเอนไซม์ทริปซินมีค่าสุงสุดที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส หรือเมื่อปลาดุกอุยมีอายุ 90 วัน ส่วนแอคติวิตีของเอนไซม์ไคโมทริปซินมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส หรือเมื่อปลาดุกอุยมีอายุ 60 วัน การย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ในหลอดทดลองของเอนไซม์ปลาดุกอุย พบว่าปลาดุกอุยสามารถย่อยปลาบ่นได้ดีที่สุด รองลงมาคือกากถั่วเหลือง ดังนั้นกากถั่วเหลืองจึงเป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะสมในการนำมาทดแทนปลาบ่นในสูตรอาหารปลาดุกอุย จากนั้นจึงนำกากถั่วเหลืองมาแทนปลาบ่นในสูตรอาหารปลาดุกอุย4สุตรที่ 0 20 30 และ 40เปอร์เซ็นต์ โดยทุกสูตรมีโปรตีน 35 เปอร์เซ้นต์และไขมัน 10 เปอร์เซ้นต์เท่ากัน เลี้ยงปลาดุกอุยน้ำหนัดเฉลี่ย 5.32+-0.47 กรัมเป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า ปลาดุกอุยที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลองสูตรที่ 2 และ 3 ซึ่งมีกากถั่วเหลืองทดแทนปลาบ่นที่ 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ให้อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการแลกเนื้อ และประสิทธิภาพการใช้โปรตีนในอาหารต่ำกว่าสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงว่ากากถั่วเหลืองสามารถทดแทนปลาบ่นในสูตรอาหารได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/316 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น