กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/278
ชื่อเรื่อง: การใช้ระบบภูมิสารสนเทศแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์และสมุทรศาสตร์ของลุ่มน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The application of geoinformatics to display the geographic and oceanographic condition of the Prasare watershed Rayong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤมล อินทรวิเชียร
ประสาร อินทเจริญ
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
วิภูษิต มัณฑะจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ: ภูมิศาสตร์
สมุทรศาสตร์
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ในที่ดินในบริเวณลุ่มน้ำประแสร์จัดทำฐานข้อมูลต่างๆ ทางด้านสมุทรศาสตร์และแนวบริเวณชายฝั่งทะเลและในแนวประการังบริเวณหมู่เกาะมัน นำมาวิเคราะห์ ประมวลผล ในเชิงพื้นที่และแสดงผลด้วยระบบภูมิสารสนเทศโดยครอบคลุมพื้นที่ห่างจากฝั่งลำน้ำออกไป 2 ด้านๆ ละ 15 กิโลเมตร และจากปากแม่น้ำไปจนถึงต้นน้ำ เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่ 1,800 ตารางกิโลเมตร ผลการจำแนกการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2554 พบว่า พื้นที่ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ป่าชายเลน และสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดเป็นพื้นที่ 21.45, 12.32, 10.73 และ 8.43 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ พื้นที่ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ได้แก่พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่อื่นๆโดยคิดเป็ฯพื้นที่ 22.43, 21.19 และ9.41 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ ผลการประเมินความถูกต้องของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2554 มีความถูกต้องโดยรวม (Overall Accuracy) เท่ากับ 76% และมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa Coefficient) เท่ากับ 71% ซึ่งแสดงว่ามีระดับความสอดคล้องกันของข้อมูลปานกลาง (moderate agreement) ผลการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณหมู่เกาะมันในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด คิดเป็นพื้นที่ 1.43 ตารางกิโเมตร รองลงมา ได้แก่ พื้นที่วางเปล่าและโขดหิน สิ่งปลูกสร้างและแหล่งน้ำคิดเป็นพื้นที่ 1.12, 0.06 และ 0.04 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ ส่วนผลการจำแนกพื้นที่แนวประการังบริเวณหมู่เกาะมันพบว่า เกาะมันใน เกาะมันกลางและเกาะมันนอก มีพื้นที่แนวประการัง 0.29, 0.16 และ 0.11 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์พบว่า ปริมาณตะกอนแขวนลอยมีความเข้มข้นสูงที่ระดับชั้นล่าง โดยเฉลี่ยฤดูแล้ง (23-24 กุมภาพันธ์ 2553) ปริมาณตะกอนแขวนลอยสูงกว่าต้นฤดูฝน (17-18 พฤษภาคม 2553) และปลายฤดูฝน (8-9 ตุลาคม 2553) โดยมีค่าเท่ากับ 58.18, 44.41 และ 51.42 มิลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ส่วนฟลักของตะกอนแขวนลอยไหลออกในช่วงหน้าแล้งและปลายฝนมีค่า 103.66 และ 63.21 ตัน/วัน ตามลำดับ ไหลเข้าปากแม่น้ำในช่วงต้นฤดูฝนมีค่า 110.11 ตัน/วัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/278
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น