กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/278
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorนฤมล อินทรวิเชียรth
dc.contributor.authorประสาร อินทเจริญth
dc.contributor.authorอนุกูล บูรณประทีปรัตน์th
dc.contributor.authorวิภูษิต มัณฑะจิตรth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:23Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:23Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/278
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ในที่ดินในบริเวณลุ่มน้ำประแสร์จัดทำฐานข้อมูลต่างๆ ทางด้านสมุทรศาสตร์และแนวบริเวณชายฝั่งทะเลและในแนวประการังบริเวณหมู่เกาะมัน นำมาวิเคราะห์ ประมวลผล ในเชิงพื้นที่และแสดงผลด้วยระบบภูมิสารสนเทศโดยครอบคลุมพื้นที่ห่างจากฝั่งลำน้ำออกไป 2 ด้านๆ ละ 15 กิโลเมตร และจากปากแม่น้ำไปจนถึงต้นน้ำ เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่ 1,800 ตารางกิโลเมตร ผลการจำแนกการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2554 พบว่า พื้นที่ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ป่าชายเลน และสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดเป็นพื้นที่ 21.45, 12.32, 10.73 และ 8.43 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ พื้นที่ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ได้แก่พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่อื่นๆโดยคิดเป็ฯพื้นที่ 22.43, 21.19 และ9.41 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ ผลการประเมินความถูกต้องของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2554 มีความถูกต้องโดยรวม (Overall Accuracy) เท่ากับ 76% และมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa Coefficient) เท่ากับ 71% ซึ่งแสดงว่ามีระดับความสอดคล้องกันของข้อมูลปานกลาง (moderate agreement) ผลการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณหมู่เกาะมันในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด คิดเป็นพื้นที่ 1.43 ตารางกิโเมตร รองลงมา ได้แก่ พื้นที่วางเปล่าและโขดหิน สิ่งปลูกสร้างและแหล่งน้ำคิดเป็นพื้นที่ 1.12, 0.06 และ 0.04 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ ส่วนผลการจำแนกพื้นที่แนวประการังบริเวณหมู่เกาะมันพบว่า เกาะมันใน เกาะมันกลางและเกาะมันนอก มีพื้นที่แนวประการัง 0.29, 0.16 และ 0.11 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์พบว่า ปริมาณตะกอนแขวนลอยมีความเข้มข้นสูงที่ระดับชั้นล่าง โดยเฉลี่ยฤดูแล้ง (23-24 กุมภาพันธ์ 2553) ปริมาณตะกอนแขวนลอยสูงกว่าต้นฤดูฝน (17-18 พฤษภาคม 2553) และปลายฤดูฝน (8-9 ตุลาคม 2553) โดยมีค่าเท่ากับ 58.18, 44.41 และ 51.42 มิลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ส่วนฟลักของตะกอนแขวนลอยไหลออกในช่วงหน้าแล้งและปลายฝนมีค่า 103.66 และ 63.21 ตัน/วัน ตามลำดับ ไหลเข้าปากแม่น้ำในช่วงต้นฤดูฝนมีค่า 110.11 ตัน/วันth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectภูมิศาสตร์th_TH
dc.subjectสมุทรศาสตร์th_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการใช้ระบบภูมิสารสนเทศแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์และสมุทรศาสตร์ของลุ่มน้ำประแสร์ จังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeThe application of geoinformatics to display the geographic and oceanographic condition of the Prasare watershed Rayong provinceth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study of land use change in the Prasare Watershed, and collect oceanographic,coastal, and coral reef data by using Geoinformatics. The study area was 1,800 km2, covered 60 km long from the river mouth and 15 km wide from each side of the river bank. The results of land use change in study area between 2006-2011 showed that land use which increase of agriculture, water, mangrove, and building are 21.45 km2, 12.32 km2, 10.73 km2 and 8.43 km2, respectively,and types of land use which decrease of forest, aquaculture, and other are 22.43 km2, 21.19 km2, and 9.41 km2, respectively. It provided overall accuracy of 76%, and Kappa coefficient of 71% (moderate agreement) for classification of land use in 2011 The result of land use classification of Mun Island in 2010 showed that forest is highest as 1.43 km2, and bare land rock, building, and water are 1.12 km2, 0.06 km2 and 0.04 km2, respectively. The result of coral of coral reef area classification of Mun IsIands in 2010 showed that Mun Nai, Mun Klang, and Mun Nork are 0.29 km2, 0.16 km2, and 0.11 km2, respectively . The result of analysis of oceanographic condition showed that the concentrate of suspended solid is highest at lower sea level of dry season (23-24 February 2010), early rainy season (17-18 May 210), and lately rainy season (8-9 October 2010) are 58.18 mg/l, 44.41 mg/l, and 51.42 mg/l, respective. Flux of suspended solid which flow out in dry season and lately rainy season are 103.66 and 63.21 ton/day, respective, and flow in river mouth in early rainy season is 110.11 ton/day.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น