กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2766
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กฤช จรินโท | |
dc.contributor.author | สามารถ ดีพิจารณ์ | |
dc.contributor.author | กวิน มุสิกา | |
dc.contributor.author | ภูริศ ศรสรุทร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:51Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:51Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2766 | |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในตราสินค้าของเครื่องสำอางไทยในสปป.ลาว (กลาง)ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความชื่นชอบในตราผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย (3) เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าในมุมมองของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย (4) เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าในมุมมองของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความชื่นชอบในตราผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย และ (5) เพื่อศึกษาความชื่นชอบในตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บแบบสอบถามจาก ผู้บริโภคชาวลาว ที่อาศัยอยู่ในสปป.ลาว (กลาง) จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแหล่งข้อมูล คือ ตัวแทนจำหน่ายในสปป.ลาว (กลาง) จำนวน 10 คน วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) การหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การสัมภาษณ์ระดับลึกใช้โปรแกรม Atlas ti Version Trial 6.2 ช่วยในการจัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อสร้างมโนทัศน์เชิงทฤษฎี ผลการศึกษาพบว่า 1. การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรในโมเดลปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า เครื่องสำอางไทยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาวโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านความชื่นชอบในตราสินค้า และปัจจัยด้านความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และคุณค่าตราสินค้าในมุมมองของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กับความชื่นชอบในตราสินค้า และความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับความชื่นชอบในตราสินค้าด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.518 และมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ 0.482 ตามลำดับ ซึ่งถือว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ส่วนคุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับความชื่นชอบ ในตราสินค้าด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.609 และมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ 0.626 ตามลำดับ ซึ่งถือว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับมาก 3. การวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยมีผลต่อความชื่นชอบในตราสินค้าและมีผลต่อความตั้งใจที่จะซื้อ ของเครื่องสำอางไทย โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านคุณภาพ โดยจะเลือกสินค้าไทยเป็นอันดับแรกความชื่นชอบในตราสินค้า มีผลต่อความความตั้งใจที่จะใช้เครื่องสำอางของไทยและพบว่ามโนทัศน์เชิงทฤษฎีที่สร้างขึ้นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | ครื่องสำอางไทย | th_TH |
dc.subject | คุณค่าตราสินค้า | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในตราสินค้า ของเครื่องสำอางไทยในสปป.ลาว (กลาง) | th_TH |
dc.title.alternative | The composition of the product and consumer based brand equility effect to attitude of cosmetic Thai brand in Laos people's Democratic Republic | en |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 8 | |
dc.year | 2556 | |
dc.description.abstractalternative | A study of the composition of the product and consumer based brand equity effect to attitude of cosmetic Thai brand in Lao people’s democratic republic (Central). The purposes of this study were (1) to study the composition of the product effect to purchase Intention cosmetic Thai brand. (2) to study the composition of the product effect to band preference cosmetic Thai brand. (3) to study the consumer based brand equity effect to purchase intention cosmetic Thai brand. (4) to study the consumer based brand equity effect to band preference cosmetic Thai brand. (5) to study the band preference effect to purchase intention cosmetic Thai brand. The process of study are follow to quantitative research to collect questionnaire from 400 customer in Lao people’s democratic republic (Central) and qualitative research to deep interview from 10 seller in Lao people’s democratic republic (Central). The collected data were analyzed and interpreted using Structural Equation Model: SEM, mean, standard deviation and deep interview analyzed by Atlas ti Version Trial 6.2. The result of study 1. The analyzed of the factor model of composition of the product and consumer based brand equity of cosmetic Thai brand in Lao people’s democratic republic (Central) the overall opinion in high level and the band preference and purchase intention cosmetic Thai brand overall opinion in medium level. 2. The an analysis of correlation between factors of composition of the product, consumer based brand equity and band preference, purchase intention of the sample group found a positive correlation and significant difference at a level of .01. The correlation between factors of composition of the product and band preference found a positive correlation at 0.518, and correlation with purchase intention found a positive correlation at 0.482. The correlation between factors of consumer based brand equity and band preference found a positive correlation at 0.609 and correlation with purchase intention found a positive correlation at 0.602 overall in high level. 3. In the qualitative research. Found that the composition of cosmetic products in Thailand affect brand preferences. And affect their purchase intention, especially in composition of the product to by choose the Thai brad first. The band preference effect to purchase intention to use cosmetics in Thailand and found that the theoretical concept that is based on in-depth interviews with a proper fit with the empirical data obtained from the analysis of quantitative data. | en |
dc.journal | วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ = Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review | |
dc.page | 107-116. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
mba8n2p107-116.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น