กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/276
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางชีวเคมีของน้ำเชื้อปลากะพงขาวที่เก็บแช่เย็น และเก็บแช่แข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chang in biochemical composition of seabass (Lates calcarifer) milt prepared by chilled storage and cryopreservation technique
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำเชื้อแช่เย็น
น้ำเชื้อแช่แข็ง
ปลากะพง - -วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปลากระพงขาว (Lates calcarifer) เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย การแช่แข็งเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ต่อการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว การแช่แข็งทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์สเปิร์มเป็นผลให้การเคลื่อนที่ และการปฏิสนธิของสเปิร์มลดลง รวมทั้งเกิดความเสียหายกับเยื่อเซลล์ ความเสียหายต่อเยื่อเซลล์นี้อาจเกิดจาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกรดไขมัน สเปิร์มที่ถูกแช่แข็งจะมีความไวต่อ reactive species (RS) และการเกิดลิพิดเปอร์ออกวิเดชันที่เยื่อเซลล์ ซึ่งจะทำให้หน้าที่ของสเปอร์มเสียไปในที่สุด ระบบเอนไซม์ต้านออกซิเดชันในน้ำหล่อเลี้ยงสเปิร์ม และสเปิร์ม ได้แก่ เอนไซม์ superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT), และ glutathione peroxidase (GPx) ซึ่งทำให้เกิดการต้านการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชัน และช่วยรักษาการมีชีวิตรอดและการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม หลังจากน้ำเชื้อปลากะพงขาวถูกเก็บแช่แข็ง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่ามีการเคลื่อนที่ลดลง ทำการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันจากสเปิร์มของน้ำเชื้อสด และน้ำเชื้อที่ผ่านการแช่แข็ง โดยการแยกชนิดของลิพิดรวมด้วยเทคนิค silica gel column chromatography และการวิเคราะห์องค์ประกอบของกรดไขมันในส่วนฟอสโฟลิพิดโดยเทคนิค Gas Chromatography พบว่ากรดไขมันอิ่มตัวหลักในสเปิร์มปลากะพง คือ palmitic acid (C16:0) ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากคือ docosahexaenoic acid (DHA; C22:6n3), docosapentaenoic acid (DHA; C22:5n6) และ elaidic acid (C18:1n9t) ลดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่งผลให้อัตราส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวต่อกรดไขมันอิ่มตัวหลังจากแช่แข็งมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้กิจกรรมของเอนไซม์ SOD ในสเปิร์มของน้ำเชื้อที่ผ่านการแช่แข็งมีค่าสูงขึ้นกว่าสเปิร์มของน้ำเชื้อสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กิจกรรมของเอนไซม์ CAT และ GPx ของสเปิร์มจากน้ำเชื้อสดและน้ำเชื้อที่ผ่านการแช่แข็งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ต้านออกซิเดชัน SOD อาจเกิดขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายจากการแช่เย็น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/276
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น