กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2640
ชื่อเรื่อง: กายวิภาคและมิญชวิทยาของเหงือกหอยตะโกรมกรามดํา Crassostrea iredalie
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทิน กิ่งทอง
รัตนา สมัญญา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การแลกเปลี่ยนก๊าซ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หอยตะโกรมกราม
หอยนางรม
เลือด
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างและเนื้อเยื่อพื้นฐานที่พบในเหงือกของหอยตะโกรมกรามดํา Crassostrea iredalie โดยเก็บตัวอย่างหอยตัวเต็มวัยจากบริเวณชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีทําการศึกษากายวิภาคและเนื้อเยื่อของเหงือกโดยใช้เทคนิคมิญชยวิทยา พบว่าเหงอกของหอยตะโกรมกรามด ื ํามีสี่แผ่นเป็นแบบซโดลาเมลล ิแบรงค์ (Pseudolamellibranch) คือมีจุดกําเนิดจากแกนเหงือกบริเวณด้านท้องลําตัวสองจุด แต่ละจุดจะมีแผ่นเหงือกสองแผ่น โดยแผ่นเหงือกด้านในจะม้วนตัว ขึ้นมาติดกับแกนลําตัวมีตําแหน่งติดกับเส้นเลือด Common afferent vein ส่วนแผ่นเหงือกด้านนอก (Outer lamella) จะม้วนขึ้นมาติดอยู่กับแมนเทิลมีตําแหน่งติดกับเส้นเลือด Branchial efferent vein โครงสร้างเนื้อเยื่อของเหงือกหอยตะโกรมกรามดําประกอบด้วยท่อลําเลียงน้ําและท่อลําเลียงเลือด จํานวนของซี่เหงือกย่อย (Gill filament) ที่พบในพลิกาพบได้ 12-14 หน่วยจากโครงสร้างของเหงือกและลักษณะของซิเลียที่พบในซี่เหงือกย่อยชี้ให้เห็นว่านอกจากเหงือกของหอยตะโกรมจะทําหน้าที่หลักในการ แลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ยังอาจทําหน้าที่อื่น ๆ ได้แก่โบกพัดและคัดกรองอาหารในน้ํา และน่าจะเกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของเซลล์สืบพันธุ์อีกด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2640
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
422-433.pdf11.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น