กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2632
ชื่อเรื่อง: ผลของความเข้มข้นของโอลิโกฟรุคโตสและซูโครสต่อลักษณะคุณภาพของกล้วยไข่หลังการออสโมซิส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of oligofructose and sucrose concentration on quality characteristics of osmosed Kluai Khai (musa aa group)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาพรรณ คงสมเพ็ชร
วิชมณี ยืนยงพทธกาล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กล้วยไข่
ซูโครส
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สารละลายออสโมติก
โอลิโกฟรุคโตส
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของโอลิโกฟรุคโตส (30-50 กรัมต่อ 100 กรัม) และซูโครส (10-20 กรัมต่อ 100 กรัม) ร่วมกับการเติมโซเดียมคลอไรด์ 5 กรัมต่อ 100 กรัม ในการเตรียมสารละลายออสโมติกต่อลักษณะคุณภาพบางประการของกล้วยไข่หลังการออสโมซิส ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของโอลิโกฟรุคโตสและซูโครสมีผลต่อค่าถ่ายเทมวลสาร ค่าสี ความแน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดของกล้วยไข่หลังการออสโมซิส (p<0.05) การใช้โอลิโกฟรุคโตสและซูโครสในระดับสูงร่วมกัน ทําให้กล้วยไข่มีปริมาณน้ําที่สูญเสีย (ร้อยละ 24.05) และปริมาณของแข็งที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2.35) สูงที่สุด (p<0.05) โดยกล้วยไขหลังการออสโมซิสมีค่าต่าง ๆ สูงที่สุด ดังนี้คือ ค่าการเปลี่ยนแปลงของสี (∆E) เท่ากับ 11.75 ความแน่นเนื้อ 155.69 กรัม ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด 44 องศาบริกซ์และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดร้อยละ 16.24 (p<0.05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2632
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
57-62.pdf824.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น