กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/247
ชื่อเรื่อง: จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในกากน้ำตาลอ้อยและผลกระทบต่อการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริโฉม ทุ่งเก้า
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กากน้ำตาลอ้อย
เอทานอล
เชื้อเพลิง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการปนเปื่อนแบคทีเรียแลกติกในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ โดยนำตัวอย่างจากกระบวนการผลิตมาแยกเชื้อบน MRS agar ผลการศึกษาพบแบคทีเรียแลกติกในน้ำหมักที่เก็บจากถังหมักปริมาณ 5.3-5.5 log CFU/ml จากการจัดจำแนกแบคทีเรียแลกติกที่พมากโดยวิธีทางชีวเคมีพบว่า Lactobacillus plantarum โดยมีลักษณะแตกต่างกันเป็น 2 สายพันธ์แลกำหนดเชื้อเป็น NP1 และ VK1 เมื่อนำแต่ละสายพันธ์นำมาศึกษาการเจริญร่วมกับยีสต์ Saccharomyces cerevisiae สายพันธ์ที่ผลิตเอทานอลในกากน้ำตาลเมื่อมีปริมาณแบททีเรียเริ่มต้นแตกต่างกัน 2 ระดับคือ 3 และ 6 log CFU/ml พบว่าทั้ง2 สายพันธ์ทำให้ยีสต์ผลิตเอทานอลได้ลดลง อัตราการลดลงแปรผันตามปริมาณเชื้อเริ่มต้นและขึ้นอยู่กับสายพันธ์โดยแบคทีเรียรหัส VK1 ยับยั้งการผลิตเอทานอลได้มากกว่าแบคทีเรียรหัส NP1 เมื่อมีปริมาณเซลล์เริ่มต้นเท่ากัน จากการวิเคราะห์น้ำหมักพบว่า L. plantarum ผลิตกรดแลกติกและกรดอะซิติกเมื่อเจริญในกากน้ำตาลร่วมกับยีสต์ซึ่งทำให้ค่าพีเอ๙ของน้ำหมักลดลง นอกจากนั้นยังศึกษาการทนเอทานอลของ L. plantarum ในกากน้ำตาลพบว่าการเจริญถูกยับยั้งเมื่อมีเอทานอลร้อยละ 3-4 ผลการศึกษาทั้งหมดทำให้เราพบว่ามีแบคทีเรียแลคติกปนเปื่อนในกระบวนการหมักเอทานอลในอุตสาหกรรมของประเทศไทยและแบคทีเรียส่งผลกระทบเชิงลบต่อการผลิตเอทานอลของยีสต์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/247
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น