กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2453
ชื่อเรื่อง: | ผลของความเค็มที่มีต่ออัตราการบริโภคออกซิเจนและค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดของปูก้ามหัก Macrophthalmus teschi Kemp, 1919 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of salinity on oxygen consumption rates and haemolymph osmolality of crab, Macrophthalmus teschi Kemp, 1919 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร ศิวพร ธารา บุษรินทร์ ธัญญเจริญ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความเค็ม ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือด ปูก้ามหัก ออกซิเจน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
บทคัดย่อ: | ทำการศึกษาอัตราการบริโภคออกซิเจนและค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูก้ามหัก (Macrophthalmus teschi) ที่รวบรวมได้จากบริเวณชายหาดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ปูที่นำมาทดลองมีขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 17.6 ± 2.1 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.51 ± 0.22 กรัม ถูกปรับสภาพในน้ำทะเลที่มีความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนนำมาทำการทดลอง พบว่า อัตราการบริโภคออกซิเจนของปูมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเค็มของน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้อัตราการบริโภคออกซิเจนของปูน้ำหนัก 1 กรัม ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 11.51, 6.49, 3.61, 4.24 และ 6.46 ไมโครโมลต่อชั่วโมง ที่ความเค็ม 0, 10, 20, 30 และ 40 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูที่ถูกนำไปไว้ในน้ำที่มีระดับความเค็มน้ำ 0, 5, 10, 20, 30, 40 ส่วนในพันส่วน และโผล่พ้นน้ำ (air) ที่เวลา 0, 3, 6, 12, 24, 48 ชั่วโมง และภายหลังจากที่นำปูมาไว้ที่ความเค็มปกติ 2 วัน ถูกวัดโดยออสโมลมิเตอร์ชนิดความดันไอระเหย (vapour pressure osmometer) พบว่า ปูทั้งหมดตายภายใน 3 ชั่วโมง ในน้ำที่มีระดับความเค็ม 0 ส่วนในพันส่วน ส่วนค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูที่ระดับความเค็มน้ำ 5, 10, 20, 30, 40 ส่วนในพันส่วน และที่โผล่พ้นน้ำ (air) ที่เวลา 48 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 595±21, 629±47, 718±36, 930±10, 1095±35 และ 1093±37 มิลลิออสโมลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ หลังจากนำปูกลับมาไว้ที่ระดับความเค็มน้ำปกติเป็นเวลา 2 วัน ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูที่ 5, 10, 20, 30, 40 ส่วนในพันส่วน และที่โผล่พ้นน้ำ (air) มีค่าเท่ากับ 944±23, 951±20, 943±22, 935±23, 939±22 และ 949±22 มิลลิออสโมลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกับที่ 0 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จุดสมดุล (isosmotic point) ของเลือดปูก้ามหักที่เวลา 48 ชั่วโมง มีค่าประมาณ 850 มิลลิออสโมลต่อกิโลกรัม (26 ส่วนในพันส่วน) การรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกายปูเป็นแบบ hyper-hypo osmoregulation |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2453 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น