กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2453
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorนงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
dc.contributor.authorศิวพร ธารา
dc.contributor.authorบุษรินทร์ ธัญญเจริญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:15:57Z
dc.date.available2019-03-25T09:15:57Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2453
dc.description.abstractทำการศึกษาอัตราการบริโภคออกซิเจนและค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูก้ามหัก (Macrophthalmus teschi) ที่รวบรวมได้จากบริเวณชายหาดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ปูที่นำมาทดลองมีขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 17.6 ± 2.1 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.51 ± 0.22 กรัม ถูกปรับสภาพในน้ำทะเลที่มีความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนนำมาทำการทดลอง พบว่า อัตราการบริโภคออกซิเจนของปูมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเค็มของน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้อัตราการบริโภคออกซิเจนของปูน้ำหนัก 1 กรัม ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 11.51, 6.49, 3.61, 4.24 และ 6.46 ไมโครโมลต่อชั่วโมง ที่ความเค็ม 0, 10, 20, 30 และ 40 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูที่ถูกนำไปไว้ในน้ำที่มีระดับความเค็มน้ำ 0, 5, 10, 20, 30, 40 ส่วนในพันส่วน และโผล่พ้นน้ำ (air) ที่เวลา 0, 3, 6, 12, 24, 48 ชั่วโมง และภายหลังจากที่นำปูมาไว้ที่ความเค็มปกติ 2 วัน ถูกวัดโดยออสโมลมิเตอร์ชนิดความดันไอระเหย (vapour pressure osmometer) พบว่า ปูทั้งหมดตายภายใน 3 ชั่วโมง ในน้ำที่มีระดับความเค็ม 0 ส่วนในพันส่วน ส่วนค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูที่ระดับความเค็มน้ำ 5, 10, 20, 30, 40 ส่วนในพันส่วน และที่โผล่พ้นน้ำ (air) ที่เวลา 48 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 595±21, 629±47, 718±36, 930±10, 1095±35 และ 1093±37 มิลลิออสโมลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ หลังจากนำปูกลับมาไว้ที่ระดับความเค็มน้ำปกติเป็นเวลา 2 วัน ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดปูที่ 5, 10, 20, 30, 40 ส่วนในพันส่วน และที่โผล่พ้นน้ำ (air) มีค่าเท่ากับ 944±23, 951±20, 943±22, 935±23, 939±22 และ 949±22 มิลลิออสโมลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกับที่ 0 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จุดสมดุล (isosmotic point) ของเลือดปูก้ามหักที่เวลา 48 ชั่วโมง มีค่าประมาณ 850 มิลลิออสโมลต่อกิโลกรัม (26 ส่วนในพันส่วน) การรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกายปูเป็นแบบ hyper-hypo osmoregulationth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectความเค็มth_TH
dc.subjectค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดth_TH
dc.subjectปูก้ามหักth_TH
dc.subjectออกซิเจนth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.titleผลของความเค็มที่มีต่ออัตราการบริโภคออกซิเจนและค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดของปูก้ามหัก Macrophthalmus teschi Kemp, 1919th_TH
dc.title.alternativeEffect of salinity on oxygen consumption rates and haemolymph osmolality of crab, Macrophthalmus teschi Kemp, 1919en
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume15
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeThe oxygen consumption rates and haemolymph osmolality of Macrophtahalus teschi collected from Angsila, Chonburi were studied. The experimental crabs have average carapace width of 17.6 ± 2.1 mm and average weight of 1.51 ± 0.22 g. Crabs were acclimated in 30 ppt seawater for one week before performing experimentation. It has been found that rates of oxygen consumption of crabs increased with increasing or decreasing salinities. At 27 ํC, the oxygen consumption rates of crabs weighed 1 g were 11.51, 6.49, 3.61, 4.24 and 6.46 µmol/h at salinity 0, 10, 20, 30 and 40 ppt respectively. Time course of haemolymph osmolality of crabs exposed to media at 0, 5, 10, 20, 30, 40 ppt and in the air were measured at 0, 3, 6, 12, 24, 48 hr and after two days back into 30 ppt seawater using vapour pressure osmometer. It has been found that all crabs died within 3 hr in freshwater or salinity at 0 ppt. Haemolymph osmolalities of crab in 5, 10, 20, 30, 40 ppt seawater and in the air at 48 hr were 595±21, 629±47, 718±36, 930±10, 1095±35 และ 1093±37 mOsM/kg respectively. After two days back into 30 ppt seawater, heamolymph osmolality exposed at 5, 10, 20, 30, 40 ppt and in the air were 944±23, 951±20, 943±22, 935±23, 939±22 and 949±22 mOsM/kg, respectively. There were not significantly different (p<0.05) from haemolymph osmolality of crabs at 0 hr. Macrophthalmus teschi showed hyper-hypo osmoregulation and their isoosmotic point was about 850 mOsM/kg (26 ppt).en
dc.journalวารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha science journal
dc.page31-41.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
31-41.pdf1.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น