กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2361
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์
ทักษะทางสังคม
เด็กปัญญาเลิศ - - การศึกษา
เด็กปัญญาเลิศ
วันที่เผยแพร่: 2551
บทคัดย่อ: วิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบ การเรียนการสอน ทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ ตอนที่ 1 สร้างโครงร่างรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ โดยการสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดลองประเมิน ตอนที่ 2ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียน การสอน โดยการทดลองใช้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ช่วงชั้นที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 50 คน โรงเรียน ไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตอนที่ 3 ทดสอบประสิทธิผลรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Control Group Pretest Posttest Design เป็นกลุ่มทดลอง 25 คน เรียนรู้ด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มควบคุม 25 คน เรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือผู้สอน 2) บททดสอบทักษะทางสังคม 3) แบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ 4) แบบประเมินความพึ่งพอใจต่อการเรียนรู้ ตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้าง ทักษะทางสังคมและความสามารถทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ ผลการวิจัยพบว่า : 1. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษที่พัฒนาขึ้น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ มีการสื่อสารแสดงความคิดเห็นร่วมเรียนรุ้ไปด้วยกัน ผู้เรียนฝึกทักษะ การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์การฝึกควบคุมอารมณ์ ฝึกคิด และสะท้อนปัญหา และสร้างทางเลือก ในการนำเอาความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การจุดประกายความคิด ขั้นที่2 การขยาย ความคิด ขั้นที่ 3การลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 4 การนำเสนอผลงาน ขั้นที่ 5 การสรุปและประเมินผล ขั้นที่ 6 การประยุกต์ และการนำความรู้ไปใช้ 2.ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ 2.1 คะแนนเฉลี่ยความสามารถทาง ด้านทักษะทางสังคม หลังการทดลองระหว่างนักเรียนที่ มีความสามารถพิเศษ ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 คะแนนเฉลี่ย ความสามารถทาง ด้านความฉลาดทางอารมณ์ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนที่ มีความสามารถพิเศษ ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ภายหลังการเรียนรู้ผู้เรียนกลุ่ม ทดลอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียน การสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด จากผลการศึกษาแสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ มีประสิทธิผล และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ และทำให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2361
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
15-32.PDF18.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น