กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2301
ชื่อเรื่อง: ความเชื่อที่ปรากฎในขบวนการผู้มีบุญ พ.ศ. 2444-2445 กรณีศึกษากลุ่มองค์มั่น
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนากร ฉัตรวิไล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ความเชื่อ
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) - - ความเป็นอยู่และประเพณี
ไสยศาสตร์
พระศรีอารย์
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: ขบวนการผู้มีบุญ พ.ศ. 2444-2445 นั้น เกิดขึ้นทั่วหัวเมืองอีสาน ซึ่งมีอยู่กลายกลุ่มและมีผู้ศึกษาไว้หลากหลายมิติ แต่เนื้อหาส่วนใหญ่มักกล่าวถึงอุดมการณ์หลัก ซึ่งเป็นความเชื่อพระศรีอารีย์เพียงอย่างเดียว โดยละเลยความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกศึกษากลุ่มองค์มั่น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเหตุการณ์ขบวนการผู้มีบุญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา พ.ศ.2444-2445 ความเชื่อพระศรีอารีย์ ความเชื่อทางไสยศาสตร์และความเชื่ออื่นๆ ในวิถีชีวิตคนอีสาน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ความเชื่อที่ปรากฏในขบวนการผู้มีบุญกลุ่มองค์มั่น ผลการวิจัยพบว่า นอกจากความเชื่อพระศรีอารีย์แล้ว ยังมีความเชื่อทางไสยศาสตร์และความเชื่ออื่นๆ ของคนอีสาน ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของขบวนการผู้มีบุญกลุ่มองคืมั่นขึ้น กลุ่มองค์มั่นมีความสัมพันธ์กับความเชื่อพระศรีอารีย์ในแง่ของการสร้างผู้นำ ซึ่งเป็นความพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้น ในแง่ของความเชื่อทางไสยศาสตร์และความเชื่ออื่นๆ ถูกนำมาเป็นกลไกการครองอำนาจนำ รวมไปถึงการใช้อำนาจบังคับในบางพื้นที่ การรมตัวของกลุ่มองค์มั่นจึงเกิดจากการผสมผสานระหว่างความเชื่อพระศรีอารีย์ ความเชื่อทางไสยศาสตร์และความเชื่ออื่นๆ ของคนอีสานเข้าด้วยกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมขบวนการไม่มีลักษณะร่วมของอุดมการณ์เดียวอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นการผสมผสานสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของเขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ขบวนการผู้มีบุญได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน แม้ว่าขบวนการผู้มีบุญจะถูกฝ่ายปกครองเรียกว่ากบฏและถูกปราบปรามไปในที่สุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2301
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p215-237.pdf223.34 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น