กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2296
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ทฤษฎีการประมวลสารสนเทศ และมโนทัศน์การรู้คิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of teaching model on mathematics using theory of planned behavior, informational processing theory and metacognition concept for secondary school students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ไพรัตน์ วงษ์นาม เบญจา อ่วมนุช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การรู้คิด การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) คณิตศาสตร์ ระบบการเรียนการสอน เมตาคอคนิชัน สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน 2)พัฒนารูปแบบการสอน ตามทฤษฏีพฤติกรรมตามแผน ทฤษฏีการประมวลสารสนเทศและมโนทัศน์การรู้คิดตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดชลบุรี ดำเนินการวิจัยด้วยการสร้างเครื่องมือ รวบรวมข้อมูล และพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสัมฤทธิผลทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปผสานกับทฤษฏีการประมวลสารสนเทศและมโนทัศน์การรู้คิดในการพัฒนารูปแบบการสอน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสัมฤทธิผลทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฏีพฤติกรรมตามแผน คือ เจตคติต่อพฤติกรรม การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมสัมฤทธิผลทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปร ทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมสัมฤทธิผลทางการเรียนได้ รูปแบบการสอนที่ได้จากการผสานทฤษฏีพฤติกรรมตามแผน ทฤษฏีการประมวลสารสนเทศและมโนทัศน์การรู้คิดประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2)จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) การสร้างกระบวนการเรียนการสอน และ 4) การประเมินรูปแบบการสอน ผลการประเมินรูปแบบการสอน พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน และความตระหนักรู้ในการคิดทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2296 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edu24n2p108-121.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น