กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2257
ชื่อเรื่อง: | วิถีวัฒนธรรม การสืบทอดภูมิปัญญาและการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสาน : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีวรรณ มีคุณ ชฎิล สมรภูมิ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การแพทย์ การแพทย์แผนโบราณ - - ไทย - - อุบลราชธานี ภูมิปัญญาชาวบ้าน สาขาสังคมวิทยา แพทย์แผนโบราณ - - ไทย - - อุบลราชธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีวิถีวัฒนธรรม การสืบทอดภูมิปัญญา และการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสานในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร, การสอบถาม, การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต จากกลุ่มตัวอย่างหมอพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักและทำการรักษาจริงในเขตอุบลราชธานี จำนวน 22 คน ผลการวิจัยพบว่า หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 21 ราย (ร้อยละ 95.5) เพศหญิง 1 ราย (ร้อยละ 4.5) เป็นผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) 15 ราย (ร้อยละ 68.2) มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-7 จำนวน 15 ราย (ร้อยละ 68.2) ไม่ได้เรียนหนังสือ 4 ราย (ร้อยละ 18.2) และสูงกว่า ม.6 จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 13.6) ความสามารถในการอ่านเขียนอยู่ในระดับพอใช้ มีจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 59.0) อ่านได้คล่องมีจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 22.7) และไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ 4 ราย (ร้อยละ 18.3) หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มี อาชีพทำนา ฐานะทางเศรษฐกิจจากการสังเกตพบว่าค่อนข้างยากจน วิถีวัฒนธรรมหมอพื้นบ้านอีสานเป็นระบบการรักษาพยาบาลที่อยู่บนพื้นฐานการช่วยตนเองและเพื่อนมนุษย์ โดยมีหมอพื้นบ้านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกลเหล่านั้น วัฒนธรรมการปฏิบัติ ตนในการเป็นหมอพื้นบ้าน พบทั้งการปฏิบัติตนไม่แตกต่างจากคนทั่วไปมีจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 22.7) และการปฏิบัติตนเป็นพิเศษมีจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 77.3) ในด้านอาหารการกินและการถือศีลโดยหมอพื้นบ้านมีรูปแบบการปฏิบัติตนเป็นพิเศษแบบเดียวในด้านใดด้านหนึ่งและการผสมผสานทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของหมอพื้นบ้าน พบว่าหมอพื้นบ้านอีสานมีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดโรคอยู่บนพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ วิถีการผลิตภาคเกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป, บุญกรรมของแต่ละคน และวิญญาณศักดิ์สิทธิ์หรือผีร้าย ที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย วัฒนธรรมการรักษาความเจ็บป่วย พบว่าหมอพื้นบ้านอีสานจำนวน 22 คน มีวัฒนธรรมการรักษาที่ผสมผสานการรักษาหลายรูปแบบ ไม่มีหมอพื้นบ้านอีสานที่มีวัฒนธรรมการรักษา เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งสรุปได้ 3 หลักวิธี คือ หมอพื้นบ้านที่ใช้สมุนไพรในการรักษาเป็นหลัก พบว่า 21 ราย (ร้อยละ 95.5) หมอพื้นบ้านที่ใช้ไสยศาสตร์หรือโหราศาสตร์ในการรักษาเป็นหลักเช่น หมอธรรม (จะทำการไล่ผีหรือเป่ามนต์), หมอลำทรง (จะใช้วิธีลำส่องละเลี้ยงผี) เป็นต้น พบ 11 ราย (ร้อยละ 50.0) และหมอพื้นบ้านที่มีวิธากรรักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบันหรือการนวด พบ 7 ราย (ร้อยละ 31.8) ทั้งนี้แต่ละรูปแบบของทั้ง 3 วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับโรคที่ผู้ป่วยมารับการรักษา ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกาย จะเลือกใช้สมุนไพรในการรักษา ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากการผิดจารีตประเพณีทำนองคลองธรรมหรือ ผิดผีก็จะเลือกวิธีการเป่ามนต์หรือไล่ผีเป็นต้น การสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสานพบว่า ก่อนที่หมอพื้นบ้านจะดำรงบทบาทความเป็นหมอพื้นบ้านจะต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพหมอพื้นบ้าน โดยวัฒนธรรมการเรียนรู้ของหมอพื้นบ้านแต่ละคนมีแรงจูงใจในการเข้ามาเป็นหมอพื้นบ้านที่แตกต่างกัน หมอพื้นบ้านอีสานจำนวน 22 คนไม่พบว่ามีหมอพื้นบ้านอีสานที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้การรักษาเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่จะเรียนรู้จากการรักษาหลายๆ วิธีผสมผสานกัน โดยส่วนใหญ่เรียนรู้เพราะเห็นผลยาหมอพื้นบ้านมีจำนวน 21 ราย (ร้อยละ 95.5), ส่วนที่เรียนรู้จาการติดสอยห้อยตามหมอพื้นบ้านมีจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 77.2), เรียนรู้จากความเจ็บป่วยของคนในครอบครัวมีจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 22.7) และส่วนที่เรียนรู้จากสถาบันการสอนแพทย์แผนไทยมีจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 13.6) การสืบทอดองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านอีสานเป็นวัฒนธรรมสืบทอดองค์ความรู้จากหลายๆ แหล่งจนชำนาญแล้วจึงสามารถไปรักษาได้ ได้แก่การได้รับถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษซึ่งเป็นหมอพื้นบ้าน หรือจากหมอพื้นบ้านที่ไม่ใช้บรรพบุรุษ มีจำนวน 18 ราย (ร้อยละ 81.8)ม จากประสบการณ์ของ ตนที่ได้จาการรักษาผู้ป่วยมีจำนวน 12 ราย (ร้อยละ 54.5), จากการศึกษาในสำนักสอนการแพทย์แผนไทยมีจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 45.5) การดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสาน 22 คน มีการเก็บรักษาองค์ความรู้ไว้ในความทรงจำของตัวหมอพื้นบ้านเอง จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 90.9) และมีเพียง 2 ราย (ร้อยละ 9.1) เท่านั้นที่มีการเก็บองค์ความรู้อยู่ในรูปแบบการจดบันทึก และพบว่าหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มีความต้องการจะถ่ายทอดความรู้ของตน เพื่อให้วิชาความรู้สามารถสืบทอดต่อไปภายภาคหน้าได้ แต่ภายในกรอบความต้องการที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นยังมีเงื่อนไงบางประการ เช่น คุณลักษณะของผู้ที่มารับการสืบทอดต้องเป็นญาติของหมอพื้นบ้านหรือเป็นคนดีมีศีลธรรมไม่ดื่มเหล้าเป็นต้น และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของระบบการแพทย์พื้นบ้านอีสาน คือ สถานภาพการยอมรับของคนในชุมชนซึ่งจากการศึกษาพบว่าคนในชุมชนยังให้การยอมรับในบทบาทของความเป็นหมอพื้นบ้าน การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า วิถีวัฒนธรรมการสืบทอดภูมิปัญญาและการดำรงอยู่ของหมอ หมอพื้นบ้านอีสานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาในทุกๆ มิติขององค์ประกอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหมอพื้นบ้านอีสาน โดยแนวทางการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสานนั้น รูปแบบหนึ่ง คือ การผสมผสานระหว่างการแผนพื้นบ้านกับแพทย์แผนปัจจุบันโดยในการแพทย์แผนปัจจุบันมีบทบาทนำในการผสมผสานดังกล่าวเพื่อให้เกิดความครอบคลุมในทุกมิติของการรักษาคนโดยรวมมิติของแนวทางของการรักษาโรคและแนวทางวิถีวัฒนธรรมของคนในสังคมหรือชุมชนนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2257 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p109-124.pdf | 22.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น