กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2257
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศรีวรรณ มีคุณ
dc.contributor.authorชฎิล สมรภูมิ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:40Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:40Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2257
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีวิถีวัฒนธรรม การสืบทอดภูมิปัญญา และการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสานในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร, การสอบถาม, การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต จากกลุ่มตัวอย่างหมอพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักและทำการรักษาจริงในเขตอุบลราชธานี จำนวน 22 คน ผลการวิจัยพบว่า หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 21 ราย (ร้อยละ 95.5) เพศหญิง 1 ราย (ร้อยละ 4.5) เป็นผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) 15 ราย (ร้อยละ 68.2) มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-7 จำนวน 15 ราย (ร้อยละ 68.2) ไม่ได้เรียนหนังสือ 4 ราย (ร้อยละ 18.2) และสูงกว่า ม.6 จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 13.6) ความสามารถในการอ่านเขียนอยู่ในระดับพอใช้ มีจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 59.0) อ่านได้คล่องมีจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 22.7) และไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ 4 ราย (ร้อยละ 18.3) หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มี อาชีพทำนา ฐานะทางเศรษฐกิจจากการสังเกตพบว่าค่อนข้างยากจน วิถีวัฒนธรรมหมอพื้นบ้านอีสานเป็นระบบการรักษาพยาบาลที่อยู่บนพื้นฐานการช่วยตนเองและเพื่อนมนุษย์ โดยมีหมอพื้นบ้านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกลเหล่านั้น วัฒนธรรมการปฏิบัติ ตนในการเป็นหมอพื้นบ้าน พบทั้งการปฏิบัติตนไม่แตกต่างจากคนทั่วไปมีจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 22.7) และการปฏิบัติตนเป็นพิเศษมีจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 77.3) ในด้านอาหารการกินและการถือศีลโดยหมอพื้นบ้านมีรูปแบบการปฏิบัติตนเป็นพิเศษแบบเดียวในด้านใดด้านหนึ่งและการผสมผสานทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของหมอพื้นบ้าน พบว่าหมอพื้นบ้านอีสานมีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดโรคอยู่บนพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ วิถีการผลิตภาคเกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป, บุญกรรมของแต่ละคน และวิญญาณศักดิ์สิทธิ์หรือผีร้าย ที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย วัฒนธรรมการรักษาความเจ็บป่วย พบว่าหมอพื้นบ้านอีสานจำนวน 22 คน มีวัฒนธรรมการรักษาที่ผสมผสานการรักษาหลายรูปแบบ ไม่มีหมอพื้นบ้านอีสานที่มีวัฒนธรรมการรักษา เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งสรุปได้ 3 หลักวิธี คือ หมอพื้นบ้านที่ใช้สมุนไพรในการรักษาเป็นหลัก พบว่า 21 ราย (ร้อยละ 95.5) หมอพื้นบ้านที่ใช้ไสยศาสตร์หรือโหราศาสตร์ในการรักษาเป็นหลักเช่น หมอธรรม (จะทำการไล่ผีหรือเป่ามนต์), หมอลำทรง (จะใช้วิธีลำส่องละเลี้ยงผี) เป็นต้น พบ 11 ราย (ร้อยละ 50.0) และหมอพื้นบ้านที่มีวิธากรรักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบันหรือการนวด พบ 7 ราย (ร้อยละ 31.8) ทั้งนี้แต่ละรูปแบบของทั้ง 3 วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับโรคที่ผู้ป่วยมารับการรักษา ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกาย จะเลือกใช้สมุนไพรในการรักษา ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากการผิดจารีตประเพณีทำนองคลองธรรมหรือ ผิดผีก็จะเลือกวิธีการเป่ามนต์หรือไล่ผีเป็นต้น การสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสานพบว่า ก่อนที่หมอพื้นบ้านจะดำรงบทบาทความเป็นหมอพื้นบ้านจะต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพหมอพื้นบ้าน โดยวัฒนธรรมการเรียนรู้ของหมอพื้นบ้านแต่ละคนมีแรงจูงใจในการเข้ามาเป็นหมอพื้นบ้านที่แตกต่างกัน หมอพื้นบ้านอีสานจำนวน 22 คนไม่พบว่ามีหมอพื้นบ้านอีสานที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้การรักษาเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่จะเรียนรู้จากการรักษาหลายๆ วิธีผสมผสานกัน โดยส่วนใหญ่เรียนรู้เพราะเห็นผลยาหมอพื้นบ้านมีจำนวน 21 ราย (ร้อยละ 95.5), ส่วนที่เรียนรู้จาการติดสอยห้อยตามหมอพื้นบ้านมีจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 77.2), เรียนรู้จากความเจ็บป่วยของคนในครอบครัวมีจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 22.7) และส่วนที่เรียนรู้จากสถาบันการสอนแพทย์แผนไทยมีจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 13.6) การสืบทอดองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านอีสานเป็นวัฒนธรรมสืบทอดองค์ความรู้จากหลายๆ แหล่งจนชำนาญแล้วจึงสามารถไปรักษาได้ ได้แก่การได้รับถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษซึ่งเป็นหมอพื้นบ้าน หรือจากหมอพื้นบ้านที่ไม่ใช้บรรพบุรุษ มีจำนวน 18 ราย (ร้อยละ 81.8)ม จากประสบการณ์ของ ตนที่ได้จาการรักษาผู้ป่วยมีจำนวน 12 ราย (ร้อยละ 54.5), จากการศึกษาในสำนักสอนการแพทย์แผนไทยมีจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 45.5) การดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสาน 22 คน มีการเก็บรักษาองค์ความรู้ไว้ในความทรงจำของตัวหมอพื้นบ้านเอง จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 90.9) และมีเพียง 2 ราย (ร้อยละ 9.1) เท่านั้นที่มีการเก็บองค์ความรู้อยู่ในรูปแบบการจดบันทึก และพบว่าหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มีความต้องการจะถ่ายทอดความรู้ของตน เพื่อให้วิชาความรู้สามารถสืบทอดต่อไปภายภาคหน้าได้ แต่ภายในกรอบความต้องการที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นยังมีเงื่อนไงบางประการ เช่น คุณลักษณะของผู้ที่มารับการสืบทอดต้องเป็นญาติของหมอพื้นบ้านหรือเป็นคนดีมีศีลธรรมไม่ดื่มเหล้าเป็นต้น และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของระบบการแพทย์พื้นบ้านอีสาน คือ สถานภาพการยอมรับของคนในชุมชนซึ่งจากการศึกษาพบว่าคนในชุมชนยังให้การยอมรับในบทบาทของความเป็นหมอพื้นบ้าน การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า วิถีวัฒนธรรมการสืบทอดภูมิปัญญาและการดำรงอยู่ของหมอ หมอพื้นบ้านอีสานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาในทุกๆ มิติขององค์ประกอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหมอพื้นบ้านอีสาน โดยแนวทางการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสานนั้น รูปแบบหนึ่ง คือ การผสมผสานระหว่างการแผนพื้นบ้านกับแพทย์แผนปัจจุบันโดยในการแพทย์แผนปัจจุบันมีบทบาทนำในการผสมผสานดังกล่าวเพื่อให้เกิดความครอบคลุมในทุกมิติของการรักษาคนโดยรวมมิติของแนวทางของการรักษาโรคและแนวทางวิถีวัฒนธรรมของคนในสังคมหรือชุมชนนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการแพทย์th_TH
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณ - - ไทย - - อุบลราชธานีth_TH
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้านth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.subjectแพทย์แผนโบราณ - - ไทย - - อุบลราชธานีth_TH
dc.titleวิถีวัฒนธรรม การสืบทอดภูมิปัญญาและการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านอีสาน : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume2
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study about the culture, wisdom transmission and maintaining of the Northeast native doctors in Ubonrachatani Province. The qualitative design was employed by using documentary research, questionnaire, in-depth interview and observation. The sample consisted of 22 famous native doctors working in Ubonrachatani. The results showed that most of native doctors were 21 men (95.5%) and 1 woman (4.5%), 15 elders persons (68.2%), 13 4^th-7^th graders (59.0%). 4 uneducated (18.2%) and 3 post senior high school (13.6%) 13 fair literate persons, (59.0%) 5 well literate persons (22.7%) and 4 illiterate per sons (18.2%). Most of them were farmers, rather poor and fair literate persons. The Northeast native doctors is the system of treatments that base on help fellowmen by native doctors. Culture of native doctors is both specially self practice and not different self practice from the other. 17 by using specially self practice (77.2%). Native doctors has only one self practice and someone has join both way. About culture and belief on the illness, it was found that the native doctors believed that there were three causes of illness : the change of agro – production, law of gamma, and the power of the holy soul or ghost made illness. For the culture of illness curing, it was found that all of the Northeast native doctors used more than one methods. There were three main methods for treatments, 21 persons by using herbs (95.5%), 11 persons by using black magic or astrology such as dharma doctor, soul doctor etc. (50.0%), and 7 persons by using black magic or astrology such as dharma doctor, soul doctor etc (50.2%), and 7 persons by using several methods including medicine and massage (31.8%), The method of treatments used depended on causes of illness. In the aspect of wisdom transmission, it was found that the persons who want to be the native doctors must have different learning methods. The study was found that all of the Northeast native doctors did not use only one method of learning but join several methods, 21persons learning from the result of quack medicine (95.5%), 17 persons learning by following the native doctors (77.2%), 5 persons learning from illness of their families (22.7%) and 3 persons learning from Thai Doctor Institute (13.6%) Native doctors have maintain the know learning to continue by learning from several place such as transference from their ancestor or from the other. 18 persons learning from their experience in curing patient (81.8%), 12 persons learning from traditional medicine (45.5%) According to knowledge preservation and maintaining of native doctors, it was found that 20 persons have preserved their knowledge in memory (90.9%), only 2 persons (9.1%) preserved by taking note. Most of them needed to pass on their knowledge for continuing their task under some conditions such as qualification of learner should be high moral standard. The maintaining of native doctors also depended on recognition of people in community. This study found that people in the community still accent the role of native doctors. To develop the Northeast native doctors it was necessary to develop each dimension of components affecting the Northeast native medicine system including the way of culture wisdom transmission and factors related the maintaining of Northeast native doctors. One pattern of development was the combination of modern medicine and native medicine for the holistical ill treatment.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of Education and Social Development
dc.page109-123.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p109-124.pdf22.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น