กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2192
ชื่อเรื่อง: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกวิทย์ มณีธร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมทางการเมือง
การเมือง
การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - - การเลือกตั้ง
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
บทคัดย่อ: การปกครองระบบประชาธิปไตยนั้นเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน ที่มุ่งเน้นอุดมการณ์สำคัญในเรื่องของความเสมอภาค เสรีภาพ ภารดรภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ ประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย สังคมใดจะมีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูง ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมใดมีระดับการมีส่วนร่วมต่ำ แสดงว่าสังคมนั้นมีระดับความเป็นประชาธิปไตยต่ำ โดยนัยนี้อาจถือได้ว่าการพัฒนาทางการเมืองคือ การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสำเร็จของการพัฒนาทางการเมืองจึงเกิดขึ้นกับระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาทางการเมืองโดยตรง โดยเฉพาะการพัฒนาทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การชักจูงผู้อื่นให้เลือกตั้งผู้ที่ตนสนับสนุน การบริจาคเงินสนับสนุนทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง การเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง การลงสมัครรับเลือกตั้ง การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ฯลฯ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการเลือกบุคคลตามความต้องการสู่กระบวนการทางการเมือง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถได้เข้าไปทำงานทางการเมือง โดยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนเพื่อเข้ามาทำงานฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งในกระบวนการทางการเมืองและการปกครองเพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชนในการปกครองประเทศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนชาวไทยมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนเข้าสู่ระบบการเมืองการปกครอง โดยกำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจำนวน ส.ส. ของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือ ๔๘๐ คนโดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท อันได้แก่ ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตการเลือกตั้งจำนวน ๔๐๐ คน และ ส.ส. ซึ่งมากจากการเลือกเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน ๘๐ คน การเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับหลัง โดยให้ใช้บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบละหนึ่งใบ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ส่งเสริมให้ปวงชนชาวไทยมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ที่แม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ วิธีการ จากเดิมไปบ้าง แต่ยังมีความสำคัญอยู่เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คะแนนเสียงของประชาชนเป็นเสมือนเสียงสวรรค์ ที่จะเลือกสรรบุคคลไปทำหน้าที่ในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้ธำรง/ดำรงคงอยู่และเจริญ พัฒนาแทนตนเองแบบมีสัญญาประชาคมต่อกัน ดังนั้นทุกคนจึงควร ตระหนักถึงความสำคัญของการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อคัดสรรตัวแทนที่ดีมีคุณภาพและคุณธรรมเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการของรัฐตามวัตถุประสงค์ของการปกครองระบบประชาธิปไตย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2192
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
145-153.PDF11.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น