กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2192
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เอกวิทย์ มณีธร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:12:45Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:12:45Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2192 | |
dc.description.abstract | การปกครองระบบประชาธิปไตยนั้นเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน ที่มุ่งเน้นอุดมการณ์สำคัญในเรื่องของความเสมอภาค เสรีภาพ ภารดรภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ ประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย สังคมใดจะมีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูง ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมใดมีระดับการมีส่วนร่วมต่ำ แสดงว่าสังคมนั้นมีระดับความเป็นประชาธิปไตยต่ำ โดยนัยนี้อาจถือได้ว่าการพัฒนาทางการเมืองคือ การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสำเร็จของการพัฒนาทางการเมืองจึงเกิดขึ้นกับระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาทางการเมืองโดยตรง โดยเฉพาะการพัฒนาทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การชักจูงผู้อื่นให้เลือกตั้งผู้ที่ตนสนับสนุน การบริจาคเงินสนับสนุนทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง การเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง การลงสมัครรับเลือกตั้ง การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ฯลฯ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการเลือกบุคคลตามความต้องการสู่กระบวนการทางการเมือง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถได้เข้าไปทำงานทางการเมือง โดยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนเพื่อเข้ามาทำงานฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งในกระบวนการทางการเมืองและการปกครองเพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชนในการปกครองประเทศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนชาวไทยมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนเข้าสู่ระบบการเมืองการปกครอง โดยกำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจำนวน ส.ส. ของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือ ๔๘๐ คนโดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท อันได้แก่ ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตการเลือกตั้งจำนวน ๔๐๐ คน และ ส.ส. ซึ่งมากจากการเลือกเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน ๘๐ คน การเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับหลัง โดยให้ใช้บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบละหนึ่งใบ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ส่งเสริมให้ปวงชนชาวไทยมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ที่แม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ วิธีการ จากเดิมไปบ้าง แต่ยังมีความสำคัญอยู่เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คะแนนเสียงของประชาชนเป็นเสมือนเสียงสวรรค์ ที่จะเลือกสรรบุคคลไปทำหน้าที่ในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้ธำรง/ดำรงคงอยู่และเจริญ พัฒนาแทนตนเองแบบมีสัญญาประชาคมต่อกัน ดังนั้นทุกคนจึงควร ตระหนักถึงความสำคัญของการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อคัดสรรตัวแทนที่ดีมีคุณภาพและคุณธรรมเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการของรัฐตามวัตถุประสงค์ของการปกครองระบบประชาธิปไตย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การมีส่วนร่วมทางการเมือง | th_TH |
dc.subject | การเมือง | th_TH |
dc.subject | การเลือกตั้ง | th_TH |
dc.subject | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - - การเลือกตั้ง | th_TH |
dc.subject | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 23-24. | |
dc.volume | 15 | |
dc.year | 2550 | |
dc.description.abstractalternative | The study is the observation of the process and political behavior in the election of Chon Buri senators in 2006. The objectives of this study are as follows; (1) To know the general atmosphere of the election. (2) To study roles and working of the Chon Buri Election Commission. (3) To specify problem, difficulties and solutions in the election. (4) To study the political behaviors of the candidates running for the election. (5) To study the roles of the government, public and private organization related to the election. (6) To know the political behaviors of the people, especially those relates to the senator election. (7) To suggest ways to improve the process of the senator election as one of the mechanisms for the democratic consolidation in Thailand. The author divides the time frame of the study into 3 parts, that are (1) the period of three months before the election (three mouth before the promulgation of royal decree on the election day), (2) the election day, and (3) the period of three months from the day after the election to the day that Chonburi Election Commission Formally certified the election result. Regarding research methodology, the author takes qualitative methods, such as, documentary analysis, observation and in-depth interviews with those related to the election. The findings of the study are as follows; The election was in a normal state. There was no obstacles to the election process administered by Chon Buri Election Commission and related organizations. Political participation and the people rate of the candidates were in normal state. The level of competition was as not high. The atmosphere of the election was rather quiet. The election was not as enthusiastic as the previous one. | en |
dc.journal | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
145-153.PDF | 11.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น