กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2161
ชื่อเรื่อง: การก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจของจีนในศตวรรษที่ ๒๑
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สรชัย ศรีนิศานต์สกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาประเทศ - - จีน
จีน - - ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ - - สหรัฐอเมริกา
ประเทศมหาอำนาจ
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง “การก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจของสาธารณรัฐประชาชนจีนและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศอาเซียน” โดยศึกษาถึงแนวคิดและเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งจีนเองได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดกว่า ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นในทศวรรษที่ ๑๙๙๐ พร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตจีนจึงการเป็น จีนจึงกลายเป็นเป็นประเทศสังคมนิยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแทนที่สหภาพโซเวียตเดิม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จีนถูกจับตามองจากชาติตะวันตกโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาที่ยังคงมองจีนในแง่ของความขัดแย้งทางอุดมการณ์อยู่พร้อม ๆ กับความหวาดระแวงว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพทางทหารซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพความมั่นคงในโลก ในขณะเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แห่งชาติอื่น ๆ ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา เช่น เรื่องบูรณภาพทางดินแดน (ไต้หวันทะเลจีนใต้ และทิเบต เป็นต้น) ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน และปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจเป็นต้น แต่ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์ และนักธุรกิจ กลับมองว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนทำให้จีนกลายเป็น “โอกาส” สำคัญในการลงทุนมากกว่าที่จะเป็นภัย “ภัยคุกคาม” ด้วยเหตุนี้จึงมีการเสนอแนะแนวทางในการจัดการกับจีน ๓ แนว ทางด้วยกันคือ การปิดล้อม (Containment) การเกี่ยวพันอย่างมีเงื่อนไข (Conditional Engagement) การเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Engagement) จีนเองก็ได้พยายามแสวงหาแนวทางที่เหมาสมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง พร้อม ๆ กับความพยายามเข้าไปมีส่วนร่วม และมีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างการยอมรับ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จากความพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี และความเคารพในผลประโยชน์กันนี้เองทำให้ความขัดแย้งระหว่าง สหรัฐอเมริกา และ จีน ค่อย ๆ เปลี่ยนไปสู่แนวทางของความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2161
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
123-157.PDF37.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น