กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2027
ชื่อเรื่อง: | พอลิเมอร์ชีวภาพไคโตซาน/ เจลาติน ที่มีสมบัติแม่เหล็ก สำหรับเป็นแรซินแลกเปลี่ยนไอออนและกำจัดโลหะหนักในน้ำทิ้ง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Magnetic chitosan/gelatin biopolymers for the application of ion exchange resin and removal of heavy metals from waste water |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนิดา ตระกูลสุจริตโชค ปิยะพร ณ หนองคาย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เจลาติน โลหะหนัก ไคโตซาน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เม็ดพอลิเมอร์ชีวภาพคอมโพสิตถูกเตรียมให้มีองค์ประกอบของไคโตซาน, เจลาติน และอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์ขนาดอนุภาคระดับนาโน (Fe3O4/CS/GE) โดยอนุภาคนาโนเหล็กออกไซด์ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากการตกตะกอนร่วมระหว่าง Fe(II)/Fe(III) ไอออนในสารละลายแอมโมเนีย และบรรจุลงในเม็ดไคโตซาน จากนั้นเคลือบด้วยเจลาตินและเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลด้วยกลูตารัลดีไฮด์ เมื่อนำ Fe3O4/CS/GE–GLA คอมโพสิตไปทดสอบการบวมตัวและวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะด้วย SEM-EDX FTIR และ TGA พบว่าคอมโพสิตที่เตรียมได้คงรูปได้ดีในน้ำ โทลูอีน และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ โดยมีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่เกิดการแยกเฟสระหว่างไบโอพอลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารตั้งต้น คอมโพสิตมีเสถียรภาพทางความร้อนดีกว่าโฮโมพอลิเมอร์ จากการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ พบว่ามีหลายตัวแปรที่ส่งผลต่อการดูดซับคอปเปอร์ (II) ไอออน เช่น ความเข้มข้นของสารเชื่อมโยงโมเลกุล เวลาในการดูดซับ และความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายคอปเปอร์ (II) ไอออน ประสิทธิภาพการดูดซับคอปเปอร์ (II) ไอออนถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FAAS ซึ่งตัวอย่าง Fe3O4/CS/GE–0.75GLA แสดงค่าประสิทธิภาพการดูดซับเท่ากับ 2.20 mmol/g พบว่า กลไกของการดูดซับคอปเปอร์ (II) ไอออน ของคอมโพสิตสอดคล้องกับไอโซเทอร์มการดูดซับของแลงเมียร์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2027 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2563_070.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น